อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

มะเขือเทศ

ชื่อสมุนไพร

มะเขือเทศ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Lycopersicon esculentum Mill.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • น้ำมะเขือเทศ 1 แก้ว (250 มล.) มีปริมาณแคโรทีนเพียงพอสำหรับปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน, วิตามินเอ 20% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน, โพแทสเซียมและทองแดง 12-15% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน, แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก แมงกานีส และฟอสเฟต ประมาณ 5% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน, มีกากใย ประมาณ 8% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน และให้พลังงานน้อย (47.5 กิโลแคลอรี่)
  • งานวิจัยในผู้ที่มีต่อมลูกหมากโตหรือมะเร็งหลายการศึกษา ยังไม่พบว่า ช่วยรักษาหรือป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต/มะเร็งต่อมลูกหมากได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 8 การศึกษาในคนสุขภาพดี ผู้ที่มีภาวะอ้วน ผู้ที่เริ่มมีความดันโลหิตสูง หรือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 794 คน รับประทานสารสกัดมะเขือเทศ เป็นเวลา 4-24 สัปดาห์ พบว่าลดความดันโลหิตค่าบน (SBP) ได้ แต่ไม่ลดความดันโลหิตค่าล่าง (DBP) เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทาน เมื่อวิเคราะห์เฉพาะผู้ป่วยความดันโลหิตสูง พบว่า ลดความดันโลหิตได้ทั้ง SBP และ DBP

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันว่าลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Ivanova NN, Khomich LM, Beketova NA. [Tomato juice nutritional profile]. Vopr Pitan. 2018;87(2):53-64.
  2. Ohkubo A, Chida T, Kikuchi H, Tsuda T, Sunaga K. Effects of tomato juice on the pharmacokinetics of CYP3A4-substrate drugs. Asian J Pharm Sci. 2017;12(5):464-9.
  3. Lazarus SA, Bowen K, Garg ML. Tomato juice and platelet aggregation in type 2 diabetes. JAMA. 2004;292(7):805-6.
  4. Banihani SA. Tomato (Solanum lycopersicum L.) and type 2 diabetes. Int J Food Prop. 2018;21(1):99-105.
  5. Paur I, Lilleby W, Bøhn SK, Hulander E, Klein W, Vlatkovic L, et al. Tomato-based randomized controlled trial in prostate cancer patients: Effect on PSA. Clin Nutr. 2017;36(3):672-9.
  6. Ilic D, Forbes KM, Hassed C. Lycopene for the prevention of prostate cancer. Cochrane Database Syst Rev. 2011(11):CD008007.
  7. Rattanavipanon W, Nithiphongwarakul C, Sirisuwansith P, Chaiyasothi T, Thakkinstian A, Nathisuwan S, et al. Effect of tomato, lycopene and related products on blood pressure: A systematic review and network meta-analysis. Phytomedicine. 2021;88:153512.
  8. Monash University Low FODMAP DietTM
  9. Dibley LB, Norton C, Jones R. Don't eat tomatoes: patient's self-reported experiences of causes of symptoms in gastro-oesophageal reflux disease. Fam Pract. 2010;27(4):410-417.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 427627