อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

บล็อคโคลี่

ชื่อสมุนไพร

บล็อคโคลี่

ชื่อวิทยาศาสตร์

Brassica oleracea var. italica

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • งานวิจัยในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง จำนวน 130 คน รับประทานสารสกัดบล็อคโคลี่ที่มี glucoraphanin สูง ขนาด 400 กรัมต่อสัปดาห์เทียบกับคนที่รับประทานบล็อคโคลี่ ขนาด 400 กรัมต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า กลุ่มที่ได้รับสารสกัดมีระดับไขมันไม่ดี (LDL) ลดลง ในขณะที่กลุ่มที่รับประทานบล็อคโคลี่ไม่พบว่าช่วยลดไขมันไม่ดี (LDL)

            *ปานกลาง, อาจใช้สารสกัดบล็อคโคลี่เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 97 คน ได้รับสารสกัดต้นอ่อนบล็อคโคลี่ที่มีสารสำคัญ คือ sulforaphane ขนาด 150 ไมโครโมลต่อวัน ร่วมกับยา metformin เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ลดระดับน้ำตาลและ HbA1C ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีน้ำหนักตัวเกินและควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ในขณะที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ ได้ผลน้อยสำหรับการลดระดับน้ำตาลและ HbA1C

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน จำนวน 40 คน รับประทานต้นอ่อนบล็อคโคลี่ ขนาด 30 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่า ไม่มีผลน้ำหนักตัวและค่าดัชนีมวลกาย (BMI)

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ผลิตภัณฑ์สกัดจากบล็อคโคลี่เป็นแคปซูลมีการทดลองใช้ในคน 3 ราย พบว่าไม่สามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงของการติดเชื้อโควิดได้ อาจบรรเทาอาการได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยใน
    • ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากที่วัดผลทางคลินิกว่าช่วยลดความเสี่ยงการดำเนินไปของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
    • คนยืนยันผลว่าช่วยป้องกันหรือรักษามะเร็งเต้านม

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1.  Armah CN, Derdemezis C, Traka MH, Dainty JR, Doleman JF, Saha S, et al. Diet rich in high glucoraphanin broccoli reduces plasma LDL cholesterol: Evidence from randomised controlled trials. Mol Nutr Food Res. 2015;59(5):918-26.
  2. Pereira DM, Ferreres F, Valentão P, Andrade PB. Chapter 9 - Brassica Seeds: Metabolomics and Biological Potential. In: Preedy VR, Watson RR, Patel VB, editors. Nuts and Seeds in Health and Disease Prevention. San Diego: Academic Press; 2011. p. 83-91.
  3. Traka MH, Melchini A, Coode-Bate J, Al Kadhi O, Saha S, Defernez M, et al. Transcriptional changes in prostate of men on active surveillance after a 12-mo glucoraphanin-rich broccoli intervention-results from the Effect of Sulforaphane on prostate CAncer PrEvention (ESCAPE) randomized controlled trial. Am J Clin Nutr. 2019;109(4):1133-44.
  4. Axelsson AS, Tubbs E, Mecham B, Chacko S, Nenonen HA, Tang Y, et al. Sulforaphane reduces hepatic glucose production and improves glucose control in patients with type 2 diabetes. Sci Transl Med. 2017;9(394).
  5. López-Chillón MT, Carazo-Díaz C, Prieto-Merino D, Zafrilla P, Moreno DA, Villaño D. Effects of long-term consumption of broccoli sprouts on inflammatory markers in overweight subjects. Clin Nutr. 2019;38(2):745-52.
  6. Amer MA, Mohamed TR, Abdel Rahman RA, Ali M, Badr A. Studies on exogenous elicitors promotion of sulforaphane content in broccoli sprouts and its effect on the MDA-MB-231 breast cancer cell line. Annals of Agricultural Sciences. 2021;66(1):46-52.
  7. Cuadrado A, Pajares M, Benito C, Jiménez-Villegas J, Escoll M, Fernández-Ginés R, et al. Can activation of NRF2 be a strategy against COVID-19? Trends Pharmacol Sci. 2020;41(9):598-610.
  8. Bousquet J, Le Moing V, Blain H, Czarlewski W, Zuberbier T, de la Torre R, et al. Efficacy of broccoli and glucoraphanin in COVID-19: From hypothesis to proof-of-concept with three experimental clinical cases. World Allergy Organ J. 2021;14(1):100498.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 427627