อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

นัตโตะไคเนส (Nattokinase)

ชื่อสมุนไพร

นัตโตะไคเนส (Nattokinase)

ชื่อวิทยาศาสตร์

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • นัตโตะไคเนส คือ เอนไซม์สกัดจากถั่วหมักด้วยเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis
  • มีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด (proteolytic fibrinolytic enzyme)
  • ดูดซึมได้ประมาณร้อยละ 1
  • งานวิจัย 7 การศึกษา 5 การศึกษาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง, 1 การศึกษาในผู้ป่วย sub-acute ischemic stroke และ 1 การศึกษาเป็นคนสุขภาพดี จำนวน 546 คน ได้รับนัตโตะไคเนส ขนาด 1,200-8,000 FU ต่อวัน เป็นเวลา 2-6 เดือน พบว่า ลดความดันได้เล็กน้อย แต่ไม่มีผลลดไขมันและน้ำตาลในเลือด

          *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐานสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ไม่แนะนำให้ใช้สำหรับลดไขมันในเลือดหรือลดน้ำตาลในเลือด

  • งานวิจัย 2 การศึกษาใน 1) ผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นความดันและอ้วน จำนวน 79 คน และ 2) ผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นความดันและความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 จำนวน 86 คน  รับประทานนัตโตะไคเนส ขนาด 100 มก. (2,000 fibrinolytic units; FU) ต่อวัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้ พบว่า กลุ่มที่ได้รับนัตโตะไคเนสมีความดันลดลงเล็กน้อย

          *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับดูแลสุขภาพ

  • งานวิจัยเชิงสังเกตในผู้ป่วยที่เป็น ischemic stroke หรือ TIA จำนวน 255 คน ได้รับนัตโตะไคเนส ขนาด 100 มก.ต่อวัน (3,000 FU) และ hydroxytyrosol ขนาด 6 มก.ต่อวัน และกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการวิจัยในช่วง 6 เดือนหลังของการวิจัยได้รับนัตโตะไคเนส ขนาด 4,000 FU ต่อวัน ร่วมกับการรักษามาตรฐาน เทียบกับกลุ่มที่ได้รับยา aspirin หรือ clopidogrel ติดตามผู้ป่วยเป็นเวลา 12 เดือน พบว่า เมื่อใช้เป็นเวลา 1 ปี ช่วยลดความดันได้เล็กน้อย แต่ไม่มีผลลดไขมัน ทั้งสองกลุ่มเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่แตกต่างกัน

          *น้อยถึงปานกลาง, ยังไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วย ischemic stroke หรือ TIA

  • งานวิจัยในผู้ป่วยหญิงที่เป็นเบาหวานและอ้วน จำนวน 17 คน รับประทานนัตโตะไคเนส ขนาด 2,000 FU ต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ทั้งกลุ่มที่ได้รับนัตโตะไคเนสและไม่ได้รับลดน้ำหนักได้ไม่แตกต่างกัน

          *ต่ำ, ยังไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยทางคลินิกยืนยันผลว่ารักษาโรคมะเร็งหรืออัลไซเมอร์ได้

          *ต่ำ, ยังไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยทางคลินิกยืนยันผลว่ารักษาหรือป้องกันโรคโควิด-19 ได้ แม้ว่าจะมีงานวิจัยพบว่ายับยั้งการแบ่งตัวของ SARS-CoV-2 ได้

          *ต่ำ, ยังไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Li D, Hou L, Hu M, Gao Y, Tian Z, Fan B, et al. Recent advances in nattokinase-enriched fermented soybean foods: A review. Foods. 2022;11(13):1867.
  2. Li X, Long J, Gao Q, Pan M, Wang J, Yang F, et al. Nattokinase Supplementation and Cardiovascular Risk Factors: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials. Rev Cardiovasc Med. 2023;24(8):234.
  3. Hodis HN, Mack WJ, Meiselman HJ, Kalra V, Liebman H, Hwang-Levine J, et al. Nattokinase atherothrombotic prevention study: A randomized controlled trial. Clin Hemorheol Microcirc. 2021;78(4):339-53.
  4. Chen H, Chen J, Zhang F, Li Y, Wang R, Zheng Q, et al. Effective management of atherosclerosis progress and hyperlipidemia with nattokinase: A clinical study with 1,062 participants. Front Cardiovasc Med. 2022;9:964977.
  5. Jensen GS, Lenninger M, Ero MP, Benson KF. Consumption of nattokinase is associated with reduced blood pressure and von Willebrand factor, a cardiovascular risk marker: results from a randomized, double-blind, placebo-controlled, multicenter North American clinical trial. Integr Blood Press Control. 2016;9:95-104.
  6. Kim JY, Gum SN, Paik JK, Lim HH, Kim KC, Ogasawara K, et al. Effects of nattokinase on blood pressure: a randomized, controlled trial. Hypertens Res. 2008;31(8):1583-8.
  7. Maslarov D, Drenska D, Maslarova-Gelov J, Gelov I. Understanding the concept of nattokinase use: a few years after beginning. Biotechnology & Biotechnological Equipment. 2023;37(1):2249552.
  8. Elahi MM, Choi CH, Konda S, Shake JG. Consequence of patient substitution of nattokinase for warfarin after aortic valve replacement with a mechanical prosthesis. Proc (Bayl Univ Med Cent). 2015;28(1):81-2.
  9. Cobos LM, Torre Y, Herbst KL, Beltran K. SAT-618 Nattokinase to improve insulin sensitivity and weight loss in women with obesity +/- diabetes. J Endocr Soc. 2020;4(Suppl 1):SAT-618.
  10. Lampe BJ, English JC. Toxicological assessment of nattokinase derived from Bacillus subtilis var. natto. Food Chem Toxicol. 2016;88:87-99.
  11. Lexicomp® Drug Interactions
  12. Tanikawa T, Kiba Y, Yu J, Hsu K, Chen S, Ishii A, et al. Degradative effect of nattokinase on spike protein of SARS-CoV-2. Molecules. 2022;27(17):5405.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 427632