อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

โสม

ชื่อสมุนไพร

โสม

ชื่อวิทยาศาสตร์

Panax ginseng

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • งานวิจัย 15 การศึกษาในผู้สูงอายุสุขภาพดี ผู้ที่มีการคิดวิเคราะห์บกพร่อง (cognitive impairment) ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 671 คน รับประทานโสมหรือสารสกัดโสม ขนาด 20-30 มก.ต่อวัน พบว่าช่วยเพิ่มความจำ แต่ไม่มีผลต่อการคิดวิเคราะห์ (cognitive improvement)

          *ปานกลาง, อาจใช้ในผู้สูงอายุที่ไม่ได้มีโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์

  • งานวิจัย 16 การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน พบว่า
    • สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โสมลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ มากกว่า 10 มก.ต่อเดซิลิตร แต่ไม่ลดระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) ผลจึงยังไม่แน่นอน
    • สำหรับผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน โสมไม่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงยังไม่แนะนำให้ใช้สำหรับป้องกันโรคเบาหวานในผู้ที่ยังไม่เป็นโรคเบาหวาน

             *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • สำหรับลดความดันโลหิต
    • งานวิจัย 9 การศึกษาในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง จำนวน 528 คน พบว่า โสมแดงของเกาหลีอาจช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ ในขณะที่โสมอเมริกาไม่มีผลลดความดันโลหิต
    • งานวิจัย 17 การศึกษาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม อ้วน หรือในคนสุขภาพดี จำนวน 1,381 คน รับประทานโสม พบว่า ไม่มีผลลดความดันโลหิตในทุกกลุ่มโรคและในคนสุขภาพดี

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • สำหรับลดไขมันในเลือด งานวิจัย 27 การศึกษาในผู้ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม น้ำหนักตัวเกิน หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือคนสุขภาพดี จำนวน 1,245 คน รับประทานโสม เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการลดไขมันในเลือด

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่าช่วยป้องกันโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองได้

           *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 11 การศึกษาในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ไขมันในเลือดสูง หรือโรคเบาหวาน จำนวน 573 คน รับประทานโสม ขนาด 3-6 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 1-3 เดือน พบว่า ผู้ที่ใช้และไม่ใช้โสมลดน้ำหนักตัวและดัชนีมวลกาย (BMI) ได้ไม่แตกต่างกัน

            *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 10 การศึกษาในหญิงวัยหมดประจำเดือน พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลสำหรับลดอาการร้อนวูบวาบในหญิงวัยหมดประจำเดือน

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 7 การศึกษาในผู้ชายที่เป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ จำนวน 349 คน รับประทานโสมเกาหลีแดง ครั้งละ 600 มก. วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 1-3 เดือน พบว่า อาจช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 5 การศึกษาในผู้ป่วยมะเร็ง จำนวน 347 คน รับประทานโสม พบว่าช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย

            *ต่ำ, ยังไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Seely D, Dugoua J-J, Perri D, Mills E, Koren G. Safety and efficacy of Panax Ginseng during pregnancy and lactation. Can J Clin Pharmacol. 2008;15(1):e87-94.
  2. Choi M-K, Song I-S. Interactions of ginseng with therapeutic drugs. Arch Pharm Res. 2019;42(10):862-78.
  3. Paik DJ, Lee CH. Review of cases of patient risk associated with ginseng abuse. J Ginseng Res. 2015;39:89-93.
  4. Lin YC, Chen YC, Chen TH, Chen HH, Tsai WJ. Acute kidney injury associated with hepato-protective Chinese herb - Pien Tze Huang. J Exp Clin Med. 2011;3(4):184-6.
  5. Lee HW, Choi J, Lee YJ, Kil K-J, Lee MS. Ginseng for managing menopausal woman’s health: A systematic review of double-blind, randomized, placebo-controlled trials. Medicine (Baltimore). 2016;95(38):e4914.
  6. Lin K, Lin AN, Linn S, Hlaing PP, Vasudevan V, Reddy M. Ginseng-related drug-induced liver injury. Case Rep Gastroenterol. 2018;12:439-46.
  7. Lee HW, Lim HJ, Jun JH, Choi J, Lee MS. Ginseng for treating hypertension: A systematic review and meta-analysis of double blind, randomized, placebo-controlled trials. Curr Vasc Pharmacol. 2017;15(6):549-56.
  8. Shishtar E, Sievenpiper JL, Djedovic V, Cozma AI, Ha V, Jayalath VH, et al. The effect of ginseng (the genus panax) on glycemic control: a systematic review and meta-analysis of randomized controlled clinical trials. PLoS One. 2014;9(9):e107391.
  9. Jang DJ, Lee MS, Shin BC, Lee YC, Ernst E. Red ginseng for treating erectile dysfunction: a systematic review. Br J Clin Pharmacol. 2008;66(4):444-50.
  10.  Fugh-Berman A. Herb-drug interactions. Lancet. 2000;355(9198):134-8.
  11. Komishon AM, Shishtar E, Ha V, et al. The effect of ginseng (genus Panax) on blood pressure: a systematic review and meta-analysis of randomized controlled clinical trials. J Hum Hypertens. 2016;30(10):619-626.
  12. Lexicomp® Drug Interactions
  13. Shaito A, Thuan DTB, Phu HT, et al. Herbal medicine for cardiovascular diseases: Efficacy, mechanisms, and safety. Front Pharmacol. 2020;11:422.
  14. Najafi TF, Bahri N, Tohidinik HR, Feyz S, Bloki F, Savarkar S, et al. Treatment of cancer-related fatigue with ginseng: A systematic review and meta-analysis. Journal of Herbal Medicine. 2021;28:100440.
  15. Zeng M, Zhang K, Yang J, Zhang Y, You P, Yan L, et al. Effects of ginseng on cognitive function: A systematic review and meta-analysis. Phytother Res. 2024;38(12):6023-34.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 427625