อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

รางจืด

ชื่อสมุนไพร

รางจืด

ชื่อวิทยาศาสตร์

Thunbergia laurifolia Lindl.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2562 แนะนำให้ใช้รางจืดสำหรับถอนพิษไข้ แก้ร้อนใน หรือถอนพิษเบื่อเมา รับประทานครั้งละ 2-3 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120-200 มล. วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร หรือเมื่อมีอาการ

            *รับรองโดยบัญชียาหลักแห่งชาติ, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น, สามารถนำมาใช้บรรเทาอาการเมากัญชาได้

      การลดพิษยาฆ่าแมลงของรางจืด

  • งานวิจัยในเกษตรกรที่สัมผัสยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมท จำนวน 60 คน ได้รับสารสกัดรางจืด ขนาด 600 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าให้ผลลดความเป็นพิษจากยาฆ่าแมลงไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่ได้ใช้
  • งานวิจัยในเกษตรกรที่สัมผัสยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมท  จำนวน 85 คน ได้รับสารสกัดรางจืด ขนาด 2 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่า อาจลดความเป็นพิษจากยาฆ่าแมลงได้
  • งานวิจัยในคน พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในคนสุขภาพดีที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จำนวน 15 คน เคี้ยวหมากฝรั่งผสมสารสกัดรางจืด ความเข้มข้น 10% ชิ้นละ 5 กรัม พบว่า หมากฝรั่งผสมสารสกัดรางจืดลดปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจได้อย่างน้อย 50% และเมื่อเคี้ยว 5 ชิ้น สามารถลดปริมาณแอลกอฮอล์ได้เกือบหมด

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่าชารางจืดช่วยขับตะกั่วหรือโลหะหนักอื่น ๆ

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่ารางจืดช่วยขับสารเสพติดได้ เช่น ยาบ้า หรือ กระท่อม

           *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่าชารางจืดช่วยขับของเสียในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เพื่อช่วยชะลอไตเสื่อม

           *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. National Drug Committee. National list of medicine. 1st ed. Bangkok: Ministry of Public Health Thailand; 2019.
  2. Chinacarawat N, Kiettinun S, Amatayakul C, Jaiaree N, Itharat A, Chinsoi P. Study on the efficacy and side effects of Thunbergia laurifolia Lindl. extract on reducing chemical toxicity among agricultural workers receiving organophosphate and carbamate insecticide poisoning (Clinical trial phase II). Thammasat Medical Journal. 2012;12(3):496-505.
  3. วิโรจน์ เลิศพงศ์พิพัฒน์, ดาริกา ไชยคุณ. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลในการเพิ่มระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในกระแสเลือด ระหว่างสมุนไพรรางจืดและย่านางแดงในกลุ่มเกษตรกร. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น. 2011;18(3):49-58.
  4. Rocejanasaroj A, Tencomnao T, Sangkitikomol W. Thunbergia laurifolia extract minimizes the adverse effects of toxicants by regulating P-glycoprotein activity, CYP450, and lipid metabolism gene expression in HepG2 cells. Genet Mol Res. 2014;13(1):205-19.
  5. Cavallari LH, Lam YWF. Pharmacogenetics. In: DiPiro JT, Yee GC, Posey LM, Haines ST, Nolin TD, Ellingrod V, editors. Pharmacotherapy: A Pathophysiologic Approach, 11e. New York, NY: McGraw-Hill Education; 2020.
  6. Kitpot T, Promjeen K, Chanburee S. Development of gummy jelly mixed with Thunbergia laurifolia Linn. extract for reducing breath alcohol concentration. Food and Applied Bioscience Journal. 2020;8(3):29-37.
  7. Suvokhiaw S, Petdum A, Faichu N, Handee W, Thepsuparungsikul N, Swanglap P, et al. Selective entrapment of Pb2+ from fresh Thunbergia laurifolia leaves extract and Thunbergia laurifolia tea extract. J Braz Chem Soc. 2019;0(0):1-7.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 427623