อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

ถั่งเช่าทิเบต (ถังเช่าทิเบต)

ชื่อสมุนไพร

ถั่งเช่าทิเบต (ถังเช่าทิเบต)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cordyceps sinensis (Berk.) Saec.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • ใช้สำหรับเสริมอาหาร
  • ถั่งเช่ามีส่วนประกอบของโปรตีน ไขมัน เกลือแร่และแร่ธาตุ เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสเฟต แมกนีเซียม อลูมิเนียม ธาตุเหล็ก ทองแดง สังกะสี และแมงกานีส
  • ถั่งเช่าสายพันธุ์ Cordyceps sinensis ที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ส่วนใหญ่มีสารสำคัญ คือ adenosine และไม่พบสาร cordycepin
  • งานวิจัย 17 การศึกษาในผู้ที่มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 1,746 คน พบว่า เมื่อใช้ถั่งเช่าร่วมกับยามาตรฐานสำหรับรักษาโรค ถั่งเช่าอาจลดโปรตีนรั่วในปัสสาวะได้

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในผู้ป่วยโรคไตสาเหตุอื่น ๆ ว่าถั่งเช่ารักษาหรือป้องกันโรคได้

            *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในผู้ป่วยโรคมะเร็งว่าถั่งเช่าฆ่าเซลล์มะเร็งได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 84 คน รับประทานสารสกัดเห็ดหลินจือ 3 กรัม/วัน ร่วมกับถั่งเช่า 1 กรัม/วัน เป็นเวลา 4 เดือน พบว่าผู้ที่ใช้และไม่ใช้สมุนไพรให้ผลลดระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือดไม่แตกต่างกัน

            *สูง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่าถั่งเช่าช่วยลดความดันโลหิตได้

            *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย ปี 1988 ทำการศึกษาในผู้ชายและผู้หญิงที่มีสมรรถภาพทางเพศลดลง จำนวน 189 คน พบว่า อาจช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยรูปแบบในผู้ป่วยโรคหืดที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง จำนวน 120 คน รับประทานถั่งเช่าทิเบต ขนาด 1.2 กรัม วันละ 3 ครั้ง ร่วมกับยามาตรฐานสำหรับรักษาโรค เป็นเวลา 3 เดือน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้รับถั่งเช่ามีคุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยอาการของโรคหืดดีขึ้นและทำกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น รวมทั้งมีการทำงานของปอดดีขึ้น

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Zhang HW, Lin ZX, Tung YS, Kwan TH, Mok CK, Leung C, et al. Cordyceps sinensis (a traditional Chinese medicine) for treating chronic kidney disease. Cochrane Database Syst Rev. 2014;12:CD008353.
  2. Chiu C-P, Hwang T-L, Chan Y, El-Shazly M, Wu T-Y, Lo I-W, et al. Research and development of Cordyceps in Taiwan. Food Science and Human Wellness. 2016;5(4):177-85.
  3. Choi GS, Shin YS, Kim JE, Ye YM, Park HS. Five cases of food allergy to vegetable worm (Cordyceps sinensis) showing cross-reactivity with silkworm pupae. Allergy. 2010 Sep;65(9):1196-7.
  4. WebMD. Cordyceps.  2020 [cited 2020 August 14th]; Available from: https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-602/cordyceps.
  5. Klupp NL, Kiat H, Bensoussan A, Steiner GZ, Chang DH. A double-blind, randomised, placebo-controlled trial of Ganoderma lucidum for the treatment of cardiovascular risk factors of metabolic syndrome. Sci Rep. 2016;6(1):29540.
  6. Zhou X, Gong Z, Su Y, Lin J, Tang K. Cordyceps fungi: natural products, pharmacological functions and developmental products. J Pharm Pharmacol. 2009;61(3):279-91.
  7. Shashidhar MG, Giridhar P, Udaya Sankar K, Manohar B. Bioactive principles from Cordyceps sinensis: A potent food supplement - A review. J Funct Foods. 2013;5(3):1013-30.
  8. Hatton MN, Desai K, Le D, Vu A. Excessive postextraction bleeding associated with Cordyceps sinensis: a case report and review of select traditional medicines used by Vietnamese people living in the United States. Oral Surgery, Oral Medicine, Oral Pathology and Oral Radiology. 2018;126(6):494-500.
  9. Liu Y, Wang J, Wang W, Zhang H, Zhang X, Han C. The chemical constituents and pharmacological actions of Cordyceps sinensis. Evid Based Complement Alternat Med. 2015;2015:575063.
  10. Li Y, Liu Y, Han X, Jin H, Ma S. Arsenic species in Cordyceps sinensis and its potential health risks. Front Pharmacol. 2019;10:1471.
  11. Chan K, Zhang HW, Lin ZX. Chapter 48 - Treatments Used in Complementary and Alternative Medicine. In: Ray SD, editor. Side Effects of Drugs Annual: Elsevier; 2014. p. 717-24.
  12. Wu TN, Yang Kc Fau - Wang CM, Wang Cm Fau - Lai JS, Lai Js Fau - Ko KN, Ko Kn Fau - Chang PY, Chang Py Fau - Liou SH, et al. Lead poisoning caused by contaminated Cordyceps, a Chinese herbal medicine: two case reports. Sci Total Environ. 1996;182((1-3)):193-5.
  13. Lee JB, Radhi M, Cipolla E, Gandhi RD, Sarmad S, Zgair A, et al. A novel nucleoside rescue metabolic pathway may be responsible for therapeutic effect of orally administered cordycepin. Sci Rep. 2019;9(1):15760.Lee JB, Radhi M, Cipolla E, Gandhi RD, Sarmad S, Zgair A, et al. A novel nucleoside rescue metabolic pathway may be responsible for therapeutic effect of orally administered cordycepin. Sci Rep. 2019;9(1):15760.
  14. Lexicomp® Drug Interactions
  15. Wang N, Li J, Huang X, Chen W, Chen Y. Herbal medicine Cordyceps sinensis improves health-related quality of life in moderate-to-severe asthma. Evid Based Complement Alternat Med. 2016;2016:6134593.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 429942