อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

ทับทิม (pomegranate)

ชื่อสมุนไพร

ทับทิม (pomegranate)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Punica granatum L. var. granatum

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • ส่วนใหญ่ใช้เป็นเครื่องดื่ม
  • น้ำทับทิม 1 แก้ว ประกอบด้วย โพแทสเซียม 15% ของปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน, แมกนีเซียม 5% ของปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน และ ทองแดง 10% ของปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน
  • ใบทับทิมเป็นส่วนประกอบในตำรับยาเหลืองปิดสมุทร สำหรับบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูกหรือมีเลือดปน ท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้

           *รับรองโดยบัญชียาหลักแห่งชาติ, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • ผลทับทิมเป็นส่วนประกอบในตำรับยาแก้ท้องเสียในเด็กอ่อน

           *ข้อมูลจากตำรายาแผนไทย, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • งานวิจัย 8 การศึกษาในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน ฟอกไต หรือคนสุขภาพดี จำนวน 574 คน ดื่มน้ำทับทิม ขนาด 240 มล.ต่อวัน (ประมาณ 1 แก้ว) อย่างน้อย 2 สัปดาห์ พบว่า ลดความดันโลหิตค่าบน (SBP) ได้ประมาณ 5 มม.ปรอท และลดความดันโลหิตค่าล่าง (DBP) ได้ประมาณ 2 มม.ปรอท

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัย 12 การศึกษาในคน จำนวน 545 คน ไม่พบว่าน้ำทับทิมช่วยลดระดับไขมันในเลือด

          *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ชายที่เป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศน้อยถึงปานกลาง จำนวน 153 คน ดื่มน้ำทับทิม ขนาด 240 มล.ต่อวัน หลังอาหารเย็น เป็นเวลา 1 เดือน พบว่า ผู้ที่ใช้และไม่ใช้น้ำทับทิมให้ผลเพิ่มสมรรถภาพทางเพศไม่แตกต่างกัน

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • หลายการศึกษาในผู้ที่มีประวัติมะเร็งต่อมลูกหมาก ทำวิจัยในคนจำนวนน้อย พบว่า น้ำหรือสารสกัดทับทิม ยังไม่ช่วยรักษาหรือชะลอโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ที่มีประวัติต่อมลูกหมากโตยังอยู่ระหว่างการทำวิจัย จึงยังไม่สามารถสรุปผลได้
This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Lansky EP, Newman RA. Punica granatum (pomegranate) and its potential for prevention and treatment of inflammation and cancer. J Ethnopharmacol. 2007;109:177-206.
  2. Petersen A, Kleinheinz A, Jappe U. Anaphylactic reactions to pomegranate: identification and characterization of eliciting IgE-reactive components. Clin Transl Allergy. 2011;1(Suppl 1):P88.
  3. Jarvis S, Li C, Bogle RG. Possible interaction between pomegranate juice and warfarin. Emerg Med J. 2010;27(1):74-5.
  4. Sorokin AV, Duncan B, Panetta R, Thompson PD. Rhabdomyolysis associated with pomegranate juice consumption. Am J Cardiol. 2006;98:705-6.
  5. Sahebkar A, Simental-Mendía LE, Giorgini P, Ferri C, Grassi D. Lipid profile changes after pomegranate consumption: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Phytomedicine. 2016;23(11):1103-12.
  6. Sahebkar A, Ferri C, Giorgini P, Bo S, Nachtigal P, Grassi D. Effects of pomegranate juice on blood pressure: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Pharmacol Res. 2017;115:149-61.
  7. Forest CP, Padma-Nathan H, Liker HR. Efficacy and safety of pomegranate juice on improvement of erectile dysfunction in male patients with mild to moderate erectile dysfunction: a randomized, placebo-controlled, double-blind, crossover study. Int J Impot. 2007;19(6):564-7.
  8. Paller CJ, Pantuck A, Carducci MA. A review of pomegranate in prostate cancer. Prostate Cancer Prostatic Dis. 2017;20(3):265-70.
  9. Kroeger N, Belldegrun AS, Pantuck AJ. Pomegranate extracts in the management of men's urologic health: Scientific rationale and preclinical and clinical data. Evid Based Complement Alternat Med. 2013;2013:701434.
  10. Monash University Low FODMAP DietTM
  11. Khomich LM, Perova IB, Eller KI. [Pomegranate juice nutritional profile]. Vopr Pitan. 2019;88(5):80-92.
  12. Lexicomp® Drug Interactions
  13. National Drug Committee. National list of medicine. 1st ed. Bangkok: Ministry of Public Health Thailand; 2019.
  14. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. รายการตำรับยาแผนไทยแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2564.
  15. Temeesak N, Kheokasem N, Phatcharawongsagorn N, Nontakulwiwat P, Boonmuang P, Santimaleeworagun W, et al. The effects of herbs or dietary supplements on international normalized ratio in warfarin users: A retrospective study at Phramongkutklao hospital. Thai Pharm Health Sci J. 2015;10(4):139-46.
  16. Raja N, Radhakrishnan H, Masilamani S. Oxalate nephropathy: A case report of acute kidney injury due to juice diet. Cureus. 2023;15(12):e51226.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 427617