อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

แปะก๊วย (ginkgo)

ชื่อสมุนไพร

แปะก๊วย (ginkgo)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Ginkgo biloba

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • งานวิจัย 6 การศึกษาในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ พบว่า การรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วย EGb761® ขนาด 240 มก.ต่อวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน อาจช่วยบรรเทาอาการผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ได้

            *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

  • แนวทางการรักษาในเอเชีย พ.ศ. 2562 แนะนำให้ใช้สารสกัดใบแปะก๊วย EGb761® เมื่อผู้ป่วยทนต่ออาการข้างเคียงของยาแผนปัจจุบันไม่ได้ หรืออาจใช้เสริมการรักษาแผนปัจจุบัน ยังไม่แนะนำให้ใช้สารสกัดใบแปะก๊วย EGb761® เพียงชนิดเดียว
  • แนวเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อมของประเทศไทย พ.ศ.2563 ไม่แนะนำให้ใช้แปะก๊วยสำหรับป้องกันภาวะสมองเสื่อม แต่อาจช่วยบรรเทาอาการความบกพร่องด้านความจำและการคิดวิเคราะห์ได้เล็กน้อย (mild cognitive impairment)
  • สำหรับสารสกัดใบแปะก๊วยที่ไม่ใช่ EGb761® มีงานวิจัยในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และคนในวัยเรียนหรือวัยทำงาน งานวิจัยพบว่ามีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการเพิ่มความจำ หรือชะลอโรคอัลไซเมอร์ แต่ยังไม่ได้ผลในการป้องกันโรคสมองเสื่อม

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในรูปแบบที่ไม่ใช่สารสกัดใบแปะก๊วยสำหรับบรรเทาอาการโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ จึงยังไม่แนะนำให้ใช้รูปแบบนี้เพื่อหวังผลด้านสุขภาพ

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 2 การศึกษาในผู้ที่ได้รับยาต้านซึมเศร้าและมีปัญหาสมรรถภาพทางเพศลดลง ทั้งผู้ชายและผู้หญิง จำนวน 61 คน รับประทานสารสกัดใบแปะก๊วย เป็นเวลา 2-3 เดือน พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีการศึกษาใน
    • ผู้ที่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศจากสาเหตุอื่น
    • งานวิจัยคุณภาพดีในคนเพื่อยืนยันผลสำหรับโรคต้อหิน

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 2 การศึกษาในผู้ที่มีจอประสาทตาเสื่อม จำนวน 60 คน รับประทานสารสกัดใบแปะก๊วย EGb761® ขนาด 160-240 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือน พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Zhang H-F, Huang L-B, Zhong Y-B, Zhou Q-H, Wang H-L, Zheng G-Q, et al. An overview of systematic reviews of Ginkgo biloba extracts for mild cognitive impairment and dementia. Front Aging Neurosci. 2016;8:276.
  2. Kandiah N, Ong PA, Yuda T, Ng LL, Mamun K, Merchant RA, et al. Treatment of dementia and mild cognitive impairment with or without cerebrovascular disease: Expert consensus on the use of Ginkgo biloba extract, EGb 761®. CNS Neurosci Ther. 2019;25(2):288-98.
  3. Liu H, Ye M, Guo H. An updated review of randomized clinical trials testing the improvement of cognitive function of Ginkgo biloba Extract in healthy people and Alzheimer’s patients. Front Pharmacol. 2020;10:1688.
  4. Mei N, Guo X, Ren Z, Kobayashi D, Wada K, Guo L. Review of Ginkgo biloba-induced toxicity, from experimental studies to human case reports. J Environ Sci Health C Environ Carcinog Ecotoxicol Rev. 2017;35(1):1-28.
  5. Lexicomp® Drug Interactions
  6. Kang BJ, Lee SJ, Kim MD, Cho MJ. A placebo-controlled, double-blind trial of Ginkgo biloba for antidepressant-induced sexual dysfunction. Hum Psychopharmacol. 2002;17(6):279-84.
  7. Wheatley D. Triple-blind, placebo-controlled trial of Ginkgo biloba in sexual dysfunction due to antidepressant drugs. Hum Psychopharmacol. 2004;19(8):545-8.
  8. MacVie OP, Harney BA. Vitreous haemorrhage associated with Gingko biloba use in a patient with age related macular disease. Br J Ophthalmol. 2005;89(10):1378-9.
  9. Bent S, Goldberg H, Padula A, Avins AL. Spontaneous bleeding associated with ginkgo biloba: a case report and systematic review of the literature: a case report and systematic review of the literature. J Gen Intern Med. 2005;20(7):657-61.
  10. Cybulska-Heinrich AK, Mozaffarieh M, Flammer J. Ginkgo biloba: an adjuvant therapy for progressive normal and high tension glaucoma. Mol Vis. 2012;18:390-402.
  11. Evans JR. Ginkgo biloba extract for age-relatedmacular degeneration. Cochrane Database Syst Rev. 2013;31(1):CD001775.
  12. Lai SW, Chen JH, Kao WY. Acute hemolytic anemia in glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency complicated by Ginkgo biloba. Acta Haematol. 2013;130(4):288-90.
  13. Shaito A, Thuan DTB, Phu HT, et al. Herbal medicine for cardiovascular diseases: Efficacy, mechanisms, and safety. Front Pharmacol. 2020;11:422.
  14. Temeesak N, Kheokasem N, Phatcharawongsagorn N, Nontakulwiwat P, Boonmuang P, Santimaleeworagun W, et al. The effects of herbs or dietary supplements on international normalized ratio in warfarin users: A retrospective study at Phramongkutklao hospital. Thai Pharm Health Sci J. 2015;10(4):139-46.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 427614