อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

ไพล

ชื่อสมุนไพร

ไพล

ชื่อวิทยาศาสตร์

Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • สำหรับบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอก ใช้เหง้าแก่สด 1 เหง้า ล้างให้สะอาด ตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ หรือทำเป็นลูกประคบโดยตำไพลให้ละเอียดผสมเกลือเล็กน้อย อังไอน้ำ ประคบบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง

           *ข้อมูลจากการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • งานวิจัยในนักกีฬาที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือข้อเท้าแพลง น้อยกว่า 3 วัน จำนวน 21 คน พบว่า เมื่อใช้ครีมไพลความเข้มข้น 14% เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ อาจช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อหรือข้อเท้าแพลงได้

           *สูง, แนะนำให้ใช้

  • เป็นส่วนประกอบในตำรับยาประสะไพล สำหรับระดูมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ บรรเทาอาการปวดประจำเดือน หรือขับน้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอดบุตร

           *รับรองโดยบัญชียาหลักแห่งชาติ, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Chongmelaxme B, Sruamsiri R, Dilokthornsakul P, Dhippayom T, Kongkaew C, Saokaew S, et al. Clinical effects of Zingiber cassumunar (Plai): A systematic review. Complement Ther Med. 2017;35:70-7.
  2. National Drug Committee. National list of medicine. 1st ed. Bangkok: Ministry of Public Health Thailand; 2019.
  3. ลลิตา วีระเสถียร, มยุรี ตั้งเกียรติกำจาย. ดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรอย่างปลอดภัย ฉบับปรับปรุง 2562. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น; 2562.
  4. Saokaew S, Suwankesawong W, Permsuwan U, Chaiyakunapruk N. Safety of herbal products in Thailand: an analysis of reports in the Thai health product vigilance center database from 2000 to 2008. Drug Saf. 2011;34(4):339-350.
  5. Jiso A, Khemawoot P, Techapichetvanich P, Soopairin S, Phoemsap K, Damrongsakul P, et al. Drug-herb interactions among Thai herbs and anticancer drugs: A scoping review. Pharmaceuticals (Basel). 2022;15(2):146.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 427621