อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

รากสามสิบ

ชื่อสมุนไพร

รากสามสิบ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Asparagus racemosus Willd.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • รากแห้ง 100 กรัม มีสารอาหาร ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต (37-53%), โปรตีน (3-6%), ใยอาหาร (18%), น้ำมัน (oil 5-6%), ธาตุเหล็ก 2 มก., แคลเซียม 26 มก., แคโรทีน 87 ไมโครกรัม, วิตามินซี 3.7 มก. และมีน้ำตาลสูง กลุโคส (28%) และกาแลคโตส (54%)
  • สารสำคัญ shatavarin I มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศ
  • เป็นส่วนประกอบในตำรับยาสุวรรณเกษรา สำหรับบำรุงครรภ์ แก้ไข้ในครรภ์รักษา หากใช้ยานี้ติดต่อกัน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรหยุดใช้ยาและพบแพทย์

           *ข้อมูลจากตำรายาแผนไทย, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • มีรายงานในคน 40 คน ที่รับประทานรากสามสิบเป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน

          *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนที่น่าเชื่อถือยืนยันผลว่าช่วยบรรเทาอาการในสตรีวัยหมดประจำเดือน  ประจำเดือนมามากผิดปกติ และ กระตุ้นการตกไข่ในสตรีที่มีบุตรยาก

          *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ข้อบ่งใช้กระตุ้นการหลั่งน้ำนม งานวิจัยหญิงให้นมบุตร จำนวน 60 คน ได้รับผงรากสามสิบ 60 มก.ต่อน้ำหนักตัวต่อวัน แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 1 เดือน พบว่า กลุ่มที่รับประทานรากสามสิบมีระดับฮอร์โมนโปรแลคติน (ฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างน้ำนม) สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทาน แต่ไม่มีการวัดปริมาณน้ำนม

          *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่าช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ มีเพียงงานวิจัยในสัตว์ทดลองเท่านั้น ที่พบว่าอาจมีฤทธิ์ดังกล่าว

          *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่าช่วยรักษามะเร็ง

          *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Singla R, Jaitak V. Shatavari (Asparagus racemosus Wild): A Review on its cultivation, morphology, phytochemistry and pharmacological importance. Int J Pharm Sci Res. 2014;5:730-41.
  2. Kaaria LM, Oduma JA, Kaingu CK, Mutai PC, Wafula DK. Effect of Asparagus racemosus on selected female reproductive parameters using Wistar rat model. Discovery Phytomedicine. 2019;6(4):199-204.
  3. Alok S, Jain SK, Verma A, Kumar M, Mahor A, Sabharwal M. Plant profile, phytochemistry and pharmacology of Asparagus racemosus (Shatavari): A review. Asian Pac J Trop Dis. 2013;3(3):242-51.
  4. Pandey AK, Gupta A, Tiwari M, Prasad S, Pandey AN, Yadav PK, et al. Impact of stress on female reproductive health disorders: Possible beneficial effects of shatavari (Asparagus racemosus). Biomed Pharmacother. 2018;103:46-9.
  5. Mitra SK, Prakash NS, Sundaram R. Shatavarins (containing Shatavarin IV) with anticancer activity from the roots of Asparagus racemosus. Indian J Pharmacol. 2012;44(6):732-6.
  6. Gupta M, Shaw B. A double-blind randomized clinical trial for evaluation of galactogogue activity of Asparagus racemosus Willd. Iran J Pharm Res. 2011 Winter;10(1):167-72.
  7. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. รายการตำรับยาแผนไทยแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2564.
  8. Kohli D, Champawat PS, Mudgal VD. Asparagus (Asparagus racemosus L.) roots: nutritional profile, medicinal profile, preservation, and value addition. J Sci Food Agric. 2023;103(5):2239-2250.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 427617