อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

ตะไคร้

ชื่อสมุนไพร

ตะไคร้

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cymbopogon citratus Stapf

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • กาบใบหุ้มลำต้นตะไคร้ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือจุกเสียด

           *ข้อมูลจากการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • สำหรับบรรเทาอาการขัดเบา ใช้กาบใบหุ้มลำต้นแก่สด หั่นเป็นแว่นบางๆ 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา หรือใช้เหง้าแก่ใต้ดินล้างให้สะอาด ฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วไฟอ่อนๆ พอเหลือง ชงน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา จนกว่าอาการจะดีขึ้น

           *ข้อมูลจากการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  •  เป็นส่วนประกอบใน
    • ตำรับยาประคบ สำหรับบรรเทาอาการปวด ช่วยคลายกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อ
    • ตำรับยาเลือดงาม สำหรับบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ

             *รับรองโดยบัญชียาหลักแห่งชาติ, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • งานวิจัยในกลุ่มตัวอย่าง อายุ 18-35 ปี จำนวน 105 คน พบว่า การดื่มชาตะไคร้ ขนาด 4-8 กรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 1 เดือน ส่งผลให้ค่าการทำงานของไต (eGFR) ลดลง

          *ปานกลาง, ยังไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหรือผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูง พบว่าชาชงตะไคร้ (มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ) ขนาด 250 มล. วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ลดความดันโลหิตค่าบน (SBP) ได้เล็กน้อย

           *ต่ำ, ยังไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในผู้ป่วยโควิดยืนยันผลว่าช่วยรักษาหรือป้องกันโรคโควิดได้

            *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. ลลิตา วีระเสถียร, มยุรี ตั้งเกียรติกำจาย. ดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรอย่างปลอดภัย ฉบับปรับปรุง 2562. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น; 2562.
  2. WebMD. Lemongrass. 2020 [cited 2020 October 5th]; Available from: https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-719/lemongrass.
  3. National Drug Committee. National list of medicine. 1st ed. Bangkok: Ministry of Public Health Thailand; 2019.
  4. Pearson, A., et al. Plant vs. kidney: Evaluating nephrotoxicity of botanicals with the latest toxicological tools. Current Opinion in Toxicology. 2022; 32: 100371.
  5. Ekpenyong CE, Daniel NE, Antai AB. Effect of lemongrass tea consumption on estimated glomerular filtration rate and creatinine clearance rate. J Ren Nutr. 2015;25(1):57-66.
  6. Silva H, Bárbara R. Exploring the Anti-Hypertensive Potential of Lemongrass-A Comprehensive Review. Biology (Basel). 2022 Sep 22;11(10):1382. 
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 427621