อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

งาดำ

ชื่อสมุนไพร

งาดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Sesamum orientale L.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • งาดำ 1 ช้อนโต๊ะ มีสารอาหาร ดังนี้ โปรตีน 30%, คาร์โบไฮเดรต 20%, ไขมัน 30%, ใยอาหาร 6%, แคลเซียม 20%, แมกนีเซียม 15% และธาตุเหล็ก 25%
  • น้ำมันงามีส่วนประกอบของวิตามินอี 45 มก.ต่อ 100 กรัม
  • งานวิจัย 10 การศึกษาในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือน้ำหนักตัวเกิน จำนวน 908 คน พบว่า เมื่อรับประทานเมล็ดงา 25-50 กรัมต่อวัน หรือใช้น้ำมันงาทำอาหารแทนน้ำมันพืชอื่น เป็นเวลา 1-2 เดือน พบว่า มีผลลดไตรกลีเซอไรด์ แต่ไม่มีผลลดคอเลสเตอรอล ระดับไขมันไม่ดี (LDL) และเพิ่มไขมันดี (HDL)

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • สำหรับผลลดความดันโลหิต มีงานวิจัย 4 การศึกษาในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง จำนวน 645 คน พบว่า เมื่อรับประทานน้ำมันงาหรือผงงา เป็นเวลา 1-2 เดือน พบว่า ช่วยลดความดันโลหิตได้

            *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันว่าสามารถป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดได้

            *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 8 การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หรือมีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม จำนวน 517 คน รับประทานน้ำมันงา เมล็ดงา หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผสมงา เป็นเวลา 6-12 สัปดาห์ พบว่า ลดระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำตาลสะสม (HbA1c) ได้

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • การลดน้ำหนักตัว งานวิจัย 10 การศึกษาในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคไขมันในเลือดสูง หรือ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ จำนวน 750 คน รับประทานเมล็ดงา หรือ น้ำมันงา ขนาด 25- 60 กรัมต่อวัน หรือ แคปซูลสารสกัดงา ขนาด 200 มก.ต่อวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการลดน้ำหนักตัวและดัชนีมวลกาย

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยที่มีอาการปวดจากการบาดเจ็บรุนแรง จำนวน 150 คน พบว่า การทาน้ำมันงาเข้มข้น 100% ร่วมกับการรักษามาตรฐาน พบว่า อาจช่วยบรรเทาอาการปวดและลดการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs จะเริ่มเห็นผลในวันที่ 4 ของการใช้

            *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้ร่วมกับการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัยในผู้หญิงโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ จำนวน 44 คน รับประทานสารสกัดงา ขนาด 200 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า อาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้

            *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • ยังไม่มีการศึกษาในผู้ชาย และผู้ที่มีอาการปวดจากโรคอื่น เช่น ข้อเข่าเสื่อม

            *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ จำนวน 33 คน รับประทานเมล็ดหรือผงงาดำ ขนาด 20 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า อาจช่วยเพิ่มคุณภาพการนอน

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันว่าช่วยป้องกันหรือรักษาไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้หญิงที่เป็นโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (non alcoholic fatty liver disease) และอ้วน จำนวน 60 คน ได้รับน้ำมันงา ขนาด 30 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน ร่วมกับการรับประทานอาหารพลังงานต่ำ พบว่า กลุ่มที่ได้รับน้ำมันงาลดระดับความรุนแรงของไขมันพอกตับได้มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก และกลุ่มที่ได้รับน้ำมันงาลดเอนไซม์ตับ (AST, ALT) ได้ 5 mg/dl มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • ยังไม่งานวิจัยในคนยืนยันว่าช่วยป้องกันโควิด-19 หรือต้านมะเร็ง

            *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Cardoso CA, Oliveira GMM, Gouveia LAV, Moreira ASB, Rosa G. The effect of dietary intake of sesame (Sesamumindicum L.) derivatives related to the lipid profile and blood pressure: A systematic review. Crit Rev Food Sci Nutr. 2018;58(1):116-25.
  2. Yu H, Qiu JF, Ma LJ, Hu YJ, Li P, Wan JB. Phytochemical and phytopharmacological review of Perilla frutescens L. (Labiatae), a traditional edible-medicinal herb in China. Food Chem Toxicol. 2017;108(Pt B):375-91.
  3. Dano D, Remington BC, Astier C, Baumert JL, Kruizinga AG, Bihain BE, et al. Sesame allergy threshold dose distribution. Food Chem Toxicol. 2015;83:48-53.
  4. Dar AA, Arumugam N. Lignans of sesame: Purification methods, biological activities and biosynthesis – A review. Bioorg Chem. 2013;50:1-10.
  5. Moazzami A, Kamal-Eldin A. 8 - Sesame Seed Oil. In: Moreau RA, Kamal-Eldin A, editors. Gourmet and Health-Promoting Specialty Oils: AOCS Press; 2009. p. 267-82.
  6. Bigdeli Shamloo MB, Nasiri M, Dabirian A, Bakhtiyari A, Mojab F, Alavi Majd H. The effects of topical sesame (Sesamum indicum) oil on pain severity and amount of received non-steroid anti-inflammatory drugs in patients with upper or lower extremities trauma. Anesth Pain Med. 2015;5(3):e25085.
  7. Yargholi A, Najafi MH, Zareian MA, Hawkins J, Shirbeigi L, Ayati MH. The effects of sesame consumption on glycemic control in adults: A systematic review and meta-analysis of randomized clinical trial. Evid Based Complement Alternat Med. 2021;2021:2873534.
  8. Raeisi-Dehkordi H, Mohammadi M, Moghtaderi F, Salehi-Abargouei A. Do sesame seed and its products affect body weight and composition? A systematic review and meta-analysis of controlled clinical trials. J Funct Foods. 2018;49:324-32.
  9. Saisum S, Srisorrachatr S, Hudthagosol C. Effect of black sesame seeds (sesamum indicum L.) consumption on sleep quality among thai elderly. Food and Applied Bioscience Journal. 2020;8(1):68-75.
  10. Helli B, Shahi MM, Mowla K, Jalali MT, Haghighian HK. A randomized, triple-blind, placebo-controlled clinical trial, evaluating the sesamin supplement effects on proteolytic enzymes, inflammatory markers, and clinical indices in women with rheumatoid arthritis. Phytother Res. 2019;33(9):2421-8.
  11. Khalesi S, Paukste E, Nikbakht E, Khosravi-Boroujeni H. Sesame fractions and lipid profiles: a systematic review and meta-analysis of controlled trials. Br J Nutr. 2016;115:764-773.
  12. Pilipenko N, Rasmussen MK, Doran O, Zamaratskaia G. 7-Hydroxylation of warfarin is strongly inhibited by sesamin, but not by episesamin, caffeic and ferulic acids in human hepatic microsomes. Food Chem Toxicol. 2018;113:14-18.
  13. Langyan S, Yadava P, Sharma S, Gupta NC, Bansal R, Yadav R, et al. Food and nutraceutical functions of Sesame oil: an underutilized crop for nutritional and health benefits. Food Chemistry. 2022:132990.
  14. Akimoto, K., et al. Protective effects of sesamin against liver damage caused by alcohol or carbon tetrachloride in rodents. Ann Nutr Metab. 1993; 37(4): 218-224.
  15. Atefi, M., et al. Sesame oil ameliorates alanine aminotransferase, aspartate aminotransferase, and fatty liver grade in women with nonalcoholic fatty liver disease undergoing low-calorie diet: A randomized double-blind controlled trial. Int J Clin Pract. 2022; 2022: 4982080.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 428637