อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

ชะเอมเทศ (licorice)

ชื่อสมุนไพร

ชะเอมเทศ (licorice)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Glycyrrhiza glabra L.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • ส่วนใหญ่ใช้แต่งรสในอาหารและยา และขับเสมหะ

          *ข้อมูลจากการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • รากชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบใน
    • ตำรับยาแก้ไอผสมกานพลู ยาแก้ไอผสมมะขามป้อม ยาแก้ไอผสมมะนาวดอง ยาอำมฤควาที สำหรับบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ
    • ตำรับยากษัยเส้น สำหรับบรรเทาอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อยตามร่างกาย
    • ตำรับยาธรณีสันฑะฆาต สำหรับแก้กษัยเส้น
    • ตำรับยาหอมทิพโอสถ
    • ตำรับยาธาตุอบเชย สำหรับขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
    • ตำรับยาประสะกะเพรา สำหรับบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด
    • ตำรับยามหาจักรใหญ่ สำหรับแก้ลมซาง บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
    • ตำรับยาเลือดงาม สำหรับบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ

            *รับรองโดยบัญชียาหลักแห่งชาติ, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • งานวิจัยในผู้ที่มีไขมันพอกตับ จำนวน 66 คน รับประทานสารสกัดน้ำชะเอมเทศขนาด 2 กรัมต่อวัน (20% glycyrrhizin) เป็นเวลา 2 เดือน พบว่า อาจลดค่าการทำงานของตับ (ALT) ได้เล็กน้อย

          *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในผู้ป่วยโรคโควิด ยืนยันผลว่าช่วยรักษาหรือป้องกันโควิดได้ แม้ว่าสารสกัดชะเอมเทศมีงานวิจัยในหลอดทดลองพบว่าสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสโควิดและลดการอักเสบโดยการลดภูมิคุ้มกัน

          *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Cinatl J, Morgenstern B, Bauer G, Chandra P, Rabenau H, Doerr HW. Glycyrrhizin, an active component of liquorice roots, and replication of SARS-associated coronavirus. Lancet. 2003;361(9374):2045-6.
  2. Omar HR, Komarova I, El-Ghonemi M, Fathy A, Rashad R, Abdelmalak HD, et al. Licorice abuse: time to send a warning message. Ther Adv Endocrinol Metab 2012;3(4):125-38.
  3. Chubachi A, Wakui H, Asakura KI, Nishimura S, Nakamoto Y, Miura AB. Acute renal failure following hypokalemic rhabdomyolysis due to chronic glycyrrhizic acid administration. Intern Med. 1992;31(5):708-11.
  4. Shin H, Chung M, Rose DZ. Licorice root associated with intracranial hemorrhagic stroke and cerebral microbleeds. Neurohospitalist. 2019;9(3):169-71.
  5. Kuang Y, Li B, Fan J, Qiao X, Ye M. Antitussive and expectorant activities of licorice and its major compounds. Bioorg Med Chem. 2018;26(1):278-84.
  6. Lexicomp® Drug Interactions
  7. Hajiaghamohammadi AA, Ziaee A, Samimi R. The efficacy of licorice root extract in decreasing transaminase activities in non-alcoholic fatty liver disease: a randomized controlled clinical trial. Phytother Res. 2012;26(9):1381-4.
  8. Hou Y-C, Lin S-P, Chao P-DL. Liquorice reduced cyclosporine bioavailability by activating P-glycoprotein and CYP 3A. Food Chemistry. 2012;135(4):2307-12.
  9. van de Sand L, Bormann M, Alt M, Schipper L, Heilingloh CS, Steinmann E, et al. Glycyrrhizin effectively inhibits SARS-CoV-2 replication by inhibiting the viral main protease. Viruses. 2021;13(4):609.
  10. National Drug Committee. National list of medicine. 1st ed. Bangkok: Ministry of Public Health Thailand; 2019.
  11. Liu JF, Srivatsa A, Kaul V. Black licorice ingestion: Yet another confounding agent in patients with melena. World J Gastrointest Surg. 2010;2(1):30-31.
  12. Liu J, Banuvar S, Viana M, et al. Pharmacokinetic interactions of a licorice dietary supplement with cytochrome P450 enzymes in female participants. Drug Metab Dispos. 2023;51(2):199-204.
  13. Strandberg TE, Andersson S, Järvenpää AL, McKeigue PM. Preterm birth and licorice consumption during pregnancy. Am J Epidemiol. 2002;156(9):803-5.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 427618