อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

ตรีผลา

ชื่อสมุนไพร

ตรีผลา

ชื่อวิทยาศาสตร์

ประกอบด้วยมะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.) สมอไทย (Terminalia chebula Retz. var. chebula) และสมอพิเภก (Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.)

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2562 แนะนำให้ใช้สำหรับบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ
  • งานวิจัย 9 การศึกษาในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง จำนวน 551 คน ได้รับตรีผลา ขนาด 250 มก. - 10 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 1-3 เดือน พบว่าตรีผลาช่วยลดระดับไขมันไม่ดี (LDL) คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มระดับไขมันดี (HDL)

          *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัย 6 การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ป่วยโรคอ้วน ได้รับตรีผลา ขนาด 1-10 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 1-3 เดือน พบว่าตรีผลาช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและค่าน้ำตาลสะสม (HbA1C) ไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่ได้ใช้

          *ปานกลาง, ยังไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 7 การศึกษาในผู้ป่วยโรคอ้วน จำนวน 458 คน ได้รับตรีผลา ขนาด 250 มก.-10 กรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 3 เดือน เทียบกับยาหลอก พบว่ากลุ่มที่ได้รับตรีผลาลดน้ำหนักตัวได้ 3 กก. ลดดัชนีมวลกาย (BMI) 0.8 kg/m2 และลดเส้นรอบเอว 2 ซม. ได้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับ

            *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัยในคนขนาดเล็ก พบว่า ยังไม่มีผลต่อการทำงานของตับและไต จึงยังไม่แนะนำให้ใช้บำรุงตับหรือไต
  • ยังไม่มีงานวิจัยใน
    • ผู้ป่วยโรคตับ ไขมันพอกตับ หรือ โรคไต ยืนยันผลว่า ช่วยล้างพิษ รักษาไขมันพอกตับ หรือ ชะลอไตเสื่อมได้
    • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ยืนยันผลว่าฆ่าเซลล์มะเร็งได้
    • ผู้ป่วยโควิด ยืนยันผลว่าช่วยป้องกันหรือรักษาโควิดได้

           *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้ 

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. National Drug Committee. National list of medicine. 1st ed. Bangkok: Ministry of Public Health Thailand; 2019.
  2. Gupta A, Kumar R, Bhattacharyya P, Bishayee A, Pandey AK. Terminalia bellirica (Gaertn.) roxb. (Bahera) in health and disease: A systematic and comprehensive review. Phytomedicine. 2020;77:153278.
  3. Barthakur NN, Arnold NP. Nutritive value of the chebulic myrobalan (Terminalia chebula Retz.) and its potential as a food source. Food Chemistry. 1991;40(2):213-9.
  4. Phimarn W, Caichompoo W, Sungthong B, Saramunee K. Efficacy of Triphala formulation on blood lipid and glucose: A review of the literature. Khon Kaen: The International Conference on Herbal and Traditional Medicine (HTM 2015), 2015.
  5. Ansari, V. A., et al. New 4′-substituted benzoyl-β-D glycoside from the fruit pulp of Terminalia belerica with antiplatelet and antioxidant potency. Integrative Medicine Research. 2016; 5(4): 317-323.
  6. Phimarn W, Sungthong B, Itabe H. Effects of Triphala on lipid and glucose profiles and anthropometric parameters: A systematic review. J Evid Based Integr Med. 2021;26:2515690x211011038.
  7. Phimarn W, Paktipat P, Taengthonglang C, Saramunee K, Sungthong B. A meta-analysis and meta-regression study of the effects of Triphala on anthropometric parameters. J Herbmed Pharmacol. 2022;11(4):475-82.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 427619