อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

มะขามป้อม

ชื่อสมุนไพร

มะขามป้อม

ชื่อวิทยาศาสตร์

Phyllanthus emblica L. หรือ Emblica officinalis Gaertn.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • ประกอบด้วยโพแทสเซียมและออกซาเลตสูง และวิตามินซี (720 มก./100 กรัม)
  • บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2562 แนะนำให้ใช้สำหรับบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ
  • ใช้เนื้อผลสดที่โตเต็มที่ 2 - 3 ผล โขลกพอแหลก  ใส่เกลือเล็กน้อย อมหรือเคี้ยว วันละ 3 - 4 ครั้ง บรรเทาอาการไอ หรือระคายคอจากเสมหะ

           *ข้อมูลจากการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • งานวิจัยในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง จำนวน 98 คน รับประทานสารสกัดมะขามป้อม ขนาด 500 มก. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ลดระดับไขมันคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันไม่ดี (LDL) ได้

            *สูง, แนะนำให้ใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโควิดที่นอนรักษาตัวในรพ. จำนวน 61 คน ได้รับยา hydroxychloroquine ขนาด 200 มก.,ยา lopinavir/ritonavir 2 เม็ด และผงมะขามป้อม 2 กรัม หรือ ชาชง 100 มล. (ประกอบด้วย gallic acid 0.79 กรัม) ทุก 12 ชม. เป็นเวลา 10 วัน พบว่า กลุ่มที่ได้รับมะขามป้อม มีจำนวนวันที่นอนรพ. (4 วัน) น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ (7 วัน)

            *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ใช้ยา enalapril หรือ amlodipine ขนาด 5 มก. วันละ 1 ครั้ง แล้วยังควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มม.ปรอทไม่ได้ จำนวน 150 คน ได้รับมะขามป้อมแคปซูลสกัดด้วยน้ำ ขนาด 500 มก.วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า กลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับมะขามป้อมให้ผลในการลดความดันโลหิตไม่แตกต่างกัน

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในผู้ป่วยเบาหวานยืนยันผลว่าลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Upadya H, Prabhu S, Prasad A, Subramanian D, Gupta S, Goel A. A randomized, double blind, placebo controlled, multicenter clinical trial to assess the efficacy and safety of Emblica officinalis extract in patients with dyslipidemia. BMC Complement Altern Med. 2019;19(1):27.
  2. Fatima N, Pingali U, Muralidhar N. Study of pharmacodynamic interaction of Phyllanthus emblica extract with clopidogrel and ecosprin in patients with type II diabetes mellitus. Phytomedicine. 2014;21(5):579-85.
  3. National Drug Committee. National list of medicine. 1st ed. Bangkok: Ministry of Public Health Thailand; 2019.
  4. Nguyễn HVH, Savage GP. Oxalate content of New Zealand grown and imported fruits. J Food Comp Anal. 2013;31(2):180-4.
  5. Vimala Y, Rachel KV, Pramodini Y, Umasankar A. Chapter 77 - Usage of Indian Gooseberry (Emblica officinalis) Seeds in Health and Disease. In: Preedy VR, Watson RR, Patel VB, editors. Nuts and Seeds in Health and Disease Prevention. San Diego: Academic Press; 2011. p. 663-70.
  6. Varnasseri M, Siahpoosh A, Hoseinynejad K, Amini F, Karamian M, Yad MJY, et al. The effects of add-on therapy of Phyllanthus Emblica (Amla) on laboratory confirmed COVID-19 Cases: A randomized, double-blind, controlled trial. Complementary Therapies in Medicine. 2022;65:102808.
  7. Shanmugarajan D, Girish C, Harivenkatesh N, Chanaveerappa B, Prasanna Lakshmi NC. Antihypertensive and pleiotropic effects of Phyllanthus emblica extract as an add-on therapy in patients with essential hypertension-A randomized double-blind placebo-controlled trial. Phytother Res. 2021;35(6):3275-85.
  8. Gul, M., Liu, Z.-W., Iahtisham Ul, H., Rabail, R., Faheem, F., Walayat, N., Nawaz, A., Shabbir, M. A., Munekata, P. E. S., Lorenzo, J. M., & Aadil, R. M. (2022). Functional and nutraceutical significance of Amla (Phyllanthus emblica L.): A review. Antioxidants, 11(5), 816.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 427884