อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

ถั่วเหลือง

ชื่อสมุนไพร

ถั่วเหลือง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Glycine max (L.) Merr.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • งานวิจัย 17 การศึกษาในหญิงวัยหมดประจำเดือน รับประทานถั่วเหลืองที่มีสารไอโซฟลาโวน (isoflavones) ขนาด 54 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ถึง 12 เดือน พบว่าลดอาการร้อนวูบวาบได้ร้อยละ 20

           *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

  • งานวิจัยในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน เป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง หรือภาวะเมแทบอลิกซินโดรม จำนวน 2,670 คน รับประทานถั่วเหลือง ขนาด 35 มก./วัน พบว่าลดคอเลสเตอรอลได้

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัยในคนจีนจำนวน 63,257 คน ที่รับประทานโปรตีนจากถั่วเหลือง ขนาด 5.2 กรัมต่อวัน หรือ ถั่วเหลืองที่มี isoflavones ขนาด 15.8 มก.ต่อวัน หรือเต้าหู ขนาด 87.4 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 5 ปี ไม่พบว่าช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยมากกว่า 10 การศึกษาในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงและผู้ที่มีความดันโลหิตปกติ รับประทานถั่วเหลืองหรือโปรตีนจากถั่วเหลือง เป็นเวลาอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ลดความดันโลหิต

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 19 การศึกษาในหญิงวัยหมดประจำเดือน จำนวน 1,442 คน รับประทานถั่วเหลืองที่มี isoflavones อย่างน้อย 75 มก.ต่อวัน พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ในการเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก (bone mass density)

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 20 การศึกษาในหญิงที่มีภาวะซึมเศร้า รับประทานถั่วเหลืองที่มี isoflavones 12.5-120 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ถึง 2 ปี พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ในการบรรเทาอาการซึมเศร้า

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 16 การศึกษาในผู้ที่เป็นและไม่เป็นมะเร็งเต้านม จำนวน 660,082 คน พบว่า ผู้ที่ใช้และไม่ใช้ถั่วเหลือง มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Banach M, Patti AM, Giglio RV, Cicero AFG, Atanasov AG, Bajraktari G, et al. The role of nutraceuticals in statin intolerant patients. J Am Coll Cardiol. 2018;72(1):96.
  2. D'Adamo CR, Sahin A. Soy foods and supplementation: a review of commonly perceived health benefits and risks. Altern Ther Health Med. 2014;20 Suppl 1:39-51.
  3. Taku K, Melby MK, Kronenberg F, Kurzer MS, Messina M. Extracted or synthesized soybean isoflavones reduce menopausal hot flash frequency and severity: systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Menopause. 2012;19(7):776-90.
  4. Talaei M, Koh W-P, van Dam RM, Yuan J-M, Pan A. Dietary soy intake is not associated with risk of cardiovascular disease mortality in Singapore Chinese adults. J Nutr. 2014;144(6):921-8.
  5. Taku K, Lin N, Cai D, Hu J, Zhao X, Zhang Y, et al. Effects of soy isoflavone extract supplements on blood pressure in adult humans: systematic review and meta-analysis of randomized placebo-controlled trials. J Hypertens. 2010 Oct;28(10):1971-82.
  6. Liu XX, Li SH, Chen JZ, Sun K, Wang XJ, Wang XG, et al. Effect of soy isoflavones on blood pressure: a meta-analysis of randomized controlled trials. Nutr Metab Cardiovasc Dis. 2012;22(6):463-70.
  7. Wei P, Liu M, Chen Y, Chen D-C. Systematic review of soy isoflavone supplements on osteoporosis in women. Asian Pac J Trop Med. 2012;5(3):243-8.
  8. Messina M, Gleason C. Evaluation of the potential antidepressant effects of soybean isoflavones. Menopause. 2016;23(12):1348-60.
  9. Zhao TT, Jin F, Li JG, Xu YY, Dong HT, Liu Q, et al. Dietary isoflavones or isoflavone-rich food intake and breast cancer risk: A meta-analysis of prospective cohort studies. Clin Nutr. 2019;38(1):136-45.
  10. Cambria-Kiely JA. Effect of soy milk on warfarin efficacy. Ann Pharmacother. 2002;36(12):1893-6.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 429840