อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

วิตามินดี

ชื่อสมุนไพร

วิตามินดี

ชื่อวิทยาศาสตร์

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • ขนาดที่แนะนำให้ใช้สำหรับป้องกันการขาด คือ 600-1,000 ยูนิต (15-25 ไมโครกรัม) วันละ 1 ครั้ง
  • สำหรับเสริมในผู้ที่ขาดวิตามินดี แนะนำให้ใช้ในขนาด 800-1,000 ยูนิต (20-25 ไมโครกรัม) วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3-4 เดือน

      ข้อบ่งใช้สำหรับโควิด

  • งานวิจัย 13 การศึกษา (4 RCTs และ 9 งานวิจัยเชิงสังเกต) ในผู้ป่วยโควิด จำนวน 3,407 คน ได้รับวิตามินดีร่วมกับการรักษามาตรฐาน พบว่า กลุ่มที่ได้รับวิตามินดีไม่มีผลลดอัตราการเสียชีวิต แต่สามารถลดอัตราการใช้เครื่องช่วยหายใจ และลดระยะเวลาการนอนรพ. โดยพบว่าผู้ที่ได้วิตามินดีก่อนหรือหลังเป็นโควิด ผลการรักษาไม่แตกต่างกัน

           *สูง, การตัดสินใจใช้ขึ้นกับดุลยพินิจของบุคลากรทางการแพทย์

  • ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมจากฐานข้อมูลประชากรในประเทศอังกฤษ เกือบ 500,000 คน ในผู้ที่่มียีนที่ไวต่อการติดเชื้อโควิด (phenotype C1) และยีนที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อโควิด (phenotype B1) และระดับวิตามินดีในเลือด พบว่า การขาดวิตามินดีไม่มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อโควิดและมีอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อโควิด

          *สูง, ไม่แนะนำให้ใช้ 

ข้อบ่งใช้อื่น ๆ

  • งานวิจัยในคนพบว่าผู้ที่ใช้วิตามินดีและไม่ใช้เป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวไม่แตกต่างกัน

           *สูง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • สถาบันโรคมะเร็งของอเมริกาไม่แนะนำให้ใช้วิตามินดีเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง เพราะงานวิจัยในคนพบว่าผู้ที่ใช้วิตามินดีและไม่ใช้เกิดมะเร็งและเสียชีวิตจากโรคมะเร็งไม่แตกต่างกัน

            *สูง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันว่าช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

          *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปผลได้ว่าวิตามินดีช่วยรักษาไขมันพอกตับ

          *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Chen F, Du M, Blumberg JB, Chui KKH, Ruan M, Rogers G, et al. Association Among Dietary Supplement Use, Nutrient Intake, and Mortality Among U.S. Adults: A Cohort Study. Ann Intern Med. 2019;170:604-13.
  2. Jenkins DJA, Spence JD, Giovannucci EL, Kim YI, Josse R, Vieth R, et al. Supplemental Vitamins and Minerals for CVD Prevention and Treatment. J Am Coll Cardiol. 2018;71(22):2570-84.
  3. Rutjes AW, Denton DA, Di Nisio M, Chong LY, Abraham RP, Al-Assaf AS, et al. Vitamin and mineral supplementation for maintaining cognitive function in cognitively healthy people in mid and late life. Cochrane Database Syst Rev. 2018;12:CD011906.
  4. Suter PM, Russell RM. Vitamin and Trace Mineral Deficiency and Excess. In: Jameson JL, Fauci AS, Kasper DL, Hauser SL, Longo DL, Loscalzo J, editors. Harrison's Principles of Internal Medicine, 20e. New York, NY: McGraw-Hill Education; 2018.
  5. Del Ben M, Polimeni L, Baratta F, Pastori D, Angelico F. The role of nutraceuticals for the treatment of non-alcoholic fatty liver disease. Br J Clin Pharmacol. 2017;83(1):88-95.
  6. Amin HA, Drenos F. No evidence that vitamin D is able to prevent or affect the severity of COVID-19 in individuals with European ancestry: a Mendelian randomisation study of open data. BMJ Nutr Prev Health. 2021:bmjnph-2020-000151.
  7. Lexicomp® Drug Interactions
  8. Manson JE, Cook NR, Lee IM, Christen W, Bassuk SS, Mora S, et al. Vitamin D supplements and prevention of cancer and cardiovascular disease. N Engl J Med. 2019;380(1):33-44.
  9. Beran A, Mhanna M, Srour O, Ayesh H, Stewart JM, Hjouj M, et al. Clinical significance of micronutrient supplements in patients with coronavirus disease 2019: A comprehensive systematic review and meta-analysis. Clinical Nutrition ESPEN. 2022;48:167-77.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 427613