อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

นมผึ้ง (royal jelly)

ชื่อสมุนไพร

นมผึ้ง (royal jelly)

ชื่อวิทยาศาสตร์

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • มีส่วนประกอบของน้ำ (60-70%), โปรตีน (9-18%), น้ำตาล (7.5-15%), ไขมัน (7-18%) วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ
  • งานวิจัยในหญิงวัยหมดประจำเดือน จำนวน 200 คน รับประทานนมผึ้ง ขนาด 1,000 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 2 เดือน พบว่า อาจช่วยบรรเทาอาการหมดประจำเดือนได้

            *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัย 6 การศึกษาในผู้ที่มีโรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือคนสุขภาพดี ขนาด 237 คน รับประทานนมผึ้ง ขนาด 0.15-10 กรัมต่อวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน พบว่า ลดคอเลสเตอรอลได้ ประมาณ 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ไม่ลดไตรกลีเซอไรด์ ไขมันไม่ดี (LDL) และไม่เพิ่มไขมันดี (HDL)

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 6 การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 270 คน รับประทานนมผึ้ง ขนาด 1-3 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 2 เดือน พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำตาลสะสม (HbA1c)

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 10 การศึกษาในคนสุขภาพดีและผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 517 คน พบว่านมผึ้งมีผลต่อการทำงานของตับและระดับน้ำตาลในเลือดไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่ได้ใช้

          *ต่ำ, ยังไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน จำนวน 200 คน รับประทานนมผึ้ง ขนาด 1 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 2 เดือนพบว่าไม่มีผลลดกลุ่มอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ของหญิงวัยหมดประจำเดือน (genitourinary syndrome of menopause)

          *สูง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในเด็กอายุ 5-16 ปี ที่มีโรคประจำตัวไข้ละอองฟาง จำนวน 64 คน รับประทานเป็นเวลา 3-6 เดือน พบว่า ไม่ลดความรุนแรงของอาการหรือทำให้อาการหายเร็วขึ้น

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ผู้ใหญ่ที่เป็นไข้ละอองฟางยังไม่มีงานวิจัยในผู้ป่วยกลุ่มนี้
  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนที่เป็นโรคภูมิแพ้จากสาเหตุอื่น
  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่าช่วยบรรเทาอาการไมเกรนหรือช่วยให้นอนหลับได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Liang Y, Kagota S, Maruyama K, Oonishi Y, Miyauchi-Wakuda S, Ito Y, et al. Royal jelly increases peripheral circulation by inducing vasorelaxation through nitric oxide production under healthy conditions. Biomed Pharmacother. 2018;106:1210-9.
  2. Ramanathan ANKG, Nair AJ, Sugunan VS. A review on Royal Jelly proteins and peptides. J Funct Foods. 2018;44:255-64.
  3. Morita H, Ikeda T, Kajita K, Fujioka K, Mori I, Okada H, et al. Effect of royal jelly ingestion for six months on healthy volunteers. Nutr J. 2012;11:77.
  4. Sharif SN, Darsareh F. Effect of royal jelly on menopausal symptoms: A randomized placebo-controlled clinical trial. Complement Ther Clin Pract. 2019;37:47-50.
  5. Paola F, Pantalea DD, Gianfranco C, Antonio F, Angelo V, Eustachio N, et al. Oral allergy syndrome in a child provoked by royal jelly. Case Rep Med. 2014;2014:941248.
  6. Hadi A, Najafgholizadeh A, Aydenlu ES, Shafiei Z, Pirivand F, Golpour S, et al. Royal jelly is an effective and relatively safe alternative approach to blood lipid modulation: A meta-analysis. J Funct Foods. 2018;41:202-9.
  7. Maleki V, Jafari-Vayghan H, Saleh-Ghadimi S, Adibian M, Kheirouri S, Alizadeh M. Effects of Royal jelly on metabolic variables in diabetes mellitus: A systematic review. Complement Ther Med. 2019;43:20-7.
  8. Andersen AH, Mortensen S, Agertoft L, Pedersen S. [Double-blind randomized trial of the effect of Bidro on hay fever in children]. Ugeskr Laeger. 2005;167(38):3591-4.
  9. UpToDate(R) 2024.
  10. Bahari H, Taheri S, Rashidmayvan M, Jamshidi S, Jazinaki MS, Pahlavani N. The effect of Royal jelly on liver enzymes and glycemic indices: A systematic review and meta-analysis of randomized clinical trials. Complement Ther Med. 2023;77:102974.
  11. Vahid M, Fatemeh D. Royal jelly for genitourinary syndrome of menopause: A randomized controlled trial. Gynecol Obstet Clin Med. 2021;1(4):211.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 427620