อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

น้ำมันปลา (fish oil) หรือ โอเมก้า-3 (Omega-3)

ชื่อสมุนไพร

น้ำมันปลา (fish oil) หรือ โอเมก้า-3 (Omega-3)

ชื่อวิทยาศาสตร์

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • ขนาดที่รับประทานเป็นอาหารได้อย่างปลอดภัย คือ โอเมก้า-3 ขนาดไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน
  • ลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเมื่อรับประทานขนาด 4 กรัมต่อวัน ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์
  • สมาคมโรคหัวใจของอเมริกายังไม่แนะนำให้ใช้โอเมก้า-3 (omega-3) จากพืช หรือน้ำมันปลา สำหรับป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่ไม่มีหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ผู้ป่วยเบาหวานหรือภาวะก่อนเบาหวาน (prediabetes) เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยในคนจำนวนมากเพียงพอรับรองว่าได้ประโยชน์
  • ไม่แนะนำให้ใช้สำหรับการป้องกันการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เนื่องจากจากงานวิจัย 10 การศึกษา พบว่า ผู้ที่ใช้และไม่ใช้โอเมก้า-3 ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจหรือลดการเกิดโรคหัวใจอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน

           *สูง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 22 การศึกษาในผู้สูงอายุที่เพิ่งเริ่มมีจอประสาทตาเสื่อม พบว่าการรับประทานปลา (15 กรัมต่อวัน) ช่วยชะลอการเสื่อมได้มากกว่าการรับประทานโอเมก้า-3 (1 กรัมต่อวัน ช่วยชะลอการเสื่อมได้เล็กน้อย)

          *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัย 17 การศึกษาในผู้ที่มีอาการตาแห้ง 3,363 คน รับประทานโอเมก้า-3 ขนาดและระยะเวลาที่ใช้ส่วนใหญ่ เท่ากับ 1-2 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 3-6 เดือน พบว่า ช่วยบรรเทาอาการตาแห้ง เพิ่มระยะเวลาน้ำตาเคลือบตา และตาผลิตน้ำตาเพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้ดวงตา

          *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน 

  • งานวิจัยในผู้ที่มีสุขภาพดี จำนวน 25,871 คน ที่รับประทานโอเมก้า-3 ขนาด 1 กรัมต่อวัน เทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทาน พบว่า ไม่มีผลป้องกันการเกิดโรคตาแห้งและไม่มีผลป้องกันการเกิดโรคตาแห้งรุนแรง

          *สูง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 26 การศึกษาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จำนวน 2,160 คน พบว่า EPA ขนาด อย่างน้อย 1 กรัมต่อวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน อาจช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้เล็กน้อย แต่ไม่พบว่า DHA ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้หญิง จำนวน 1,865 คน พบว่า โอเมก้า-3 ไม่มีผลเพิ่มมวลกระดูกในผู้หญิงที่มีกระดูกพรุน

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 70 การศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 19,927 คน พบว่า ผู้ที่รับประทานโอเมก้า-3 ช่วยลดความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนด อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงการรับประทานในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงคลอดช้ากว่ากำหนด เพราะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงดังกล่าว

           *สูง, แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโควิด จำนวน 445,850 คน ที่รายงานการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารด้วยตนเอง พบว่า ผู้ที่ใช้โอเมก้า-3 ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด

            *ปานกลาง, อาจใช้ร่วมกับมาตรการป้องกันโควิดอื่น ๆ

  • งานวิจัยเชิงสังเกตในผู้ป่วยโควิด 100 คน พบว่า ปริมาณน้ำมันปลาในร่างกาย (ระดับของ EPA และ DHA) ที่เพิ่มขึ้น ไม่สัมพันธ์กับการลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด สำหรับการลดความรุนแรงของโรคโควิดยังต้องรอผลการศึกษาในผู้ป่วยโควิดต่อไป

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในคนพบว่าผู้ที่ใช้และไม่ใช่โอเมก้า-3 พบว่าเป็นมะเร็งลำไส้ไม่แตกต่างกัน

           *สูง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ที่เพิ่งเป็นรูมาตอยด์ จำนวน 140 คน รับประทานยามาตรฐาน (triple DMARD) 3 ชนิด คือ methotrexate, suphasalazine และ hydroxychloroquine ร่วมกับน้ำมันปลาขนาดสูง 5.5 กรัมต่อวัน เทียบกับน้ำมันปลาขนาดต่ำ 0.4 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 1 ปี พบว่า กลุ่มที่ได้น้ำมันปลาในขนาดสูงลดอัตราการล้มเหลวจากยามาตรฐาน 3 ชนิด (failure of triple DMARD therapy) ได้มากกว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำมันปลาในขนาดต่ำ

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัย 5 การศึกษาในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จำนวน 758 คน พบว่า โอเมก้า-3 ไม่มีผลเพิ่มความจำหรือการคิดวิเคราะห์

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้ 

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Siscovick DS, Barringer TA, Fretts AM, Wu JHY, Lichtenstein AH, Costello RB, et al. Omega-3 polyunsaturated fatty acid (Fish Oil) supplementation and the prevention of clinical cardiovascular disease: A Science Advisory from the American Heart Association. Circulation. 2017;135:e867–e84.
  2. Abdelhamid AS, Brown TJ, Brainard JS, Biswas P, Thorpe GC, Moore HJ, et al. Omega-3 fatty acids for the primary and secondary prevention of cardiovascular disease. Cochrane Database Syst Rev. 2018;11:CD003177.
  3. Aung T, Halsey J, Kromhout D, Gerstein HC, Marchioli R, Tavazzi L, et al. Associations of omega-3 fatty acid supplement use with cardiovascular disease risks: Meta-analysis of 10 trials involving 77 917 individuals. JAMA Cardiol. 2018;3(3):225-34.
  4. © 2020 Wolters Kluwer Clinical Drug Information, Inc.
  5. Liao Y, Xie B, Zhang H, He Q, Guo L, Subramaniapillai M, et al. Efficacy of omega-3 PUFAs in depression: A meta-analysis. Transl Psychiatry. 2019;9(1):190.
  6. Lavado-García J, Roncero-Martin R, Moran JM, Pedrera-Canal M, Aliaga I, Leal-Hernandez O, et al. Long-chain omega-3 polyunsaturated fatty acid dietary intake is positively associated with bone mineral density in normal and osteopenic Spanish women. PLoS One. 2018;13(1):e0190539.
  7. Middleton P, Gomersall JC, Gould JF, Shepherd E, Olsen SF, Makrides M. Omega-3 fatty acid addition during pregnancy. Cochrane Database Syst Rev. 2018;11(11):CD003402.
  8. Albert CM, Cook NR, Pester J, Moorthy MV, Ridge C, Danik JS, et al. Effect of marine omega-3 fatty acid and vitamin D supplementation on incident atrial fibrillation: A randomized clinical trial. JAMA. 2021;325(11):1061-73.
  9. Asher A, Tintle NL, Myers M, Lockshon L, Bacareza H, Harris WS. Blood omega-3 fatty acids and death from COVID-19: A pilot study. Prostaglandins Leukot Essent Fatty Acids. 2021;166:102250.
  10. Curfman G. Omega-3 fatty acids and atrial fibrillation. JAMA. 2021;325(11):1063.
  11. Song M, Lee IM, Manson JE, Buring JE, Dushkes R, Gordon D, et al. Effect of supplementation with marine ω-3 fatty acid on risk of colorectal adenomas and serrated polyps in the US general population: A prespecified ancillary study of a randomized clinical trial. JAMA Oncol. 2020;6(1):108-15.
  12. Louca P, Murray B, Klaser K, Graham MS, Mazidi M, Leeming ER, et al. Modest effects of dietary supplements during the COVID-19 pandemic: insights from 445 850 users of the COVID-19 Symptom Study app. BMJ Nutr Prev Health. 2021;4(1):149.
  13. Proudman SM, James MJ, Spargo LD, Metcalf RG, Sullivan TR, Rischmueller M, et al. Fish oil in recent onset rheumatoid arthritis: a randomised, double-blind controlled trial within algorithm-based drug use. Ann Rheum Dis. 2015;74(1):89.
  14. Araya-Quintanilla F, Gutiérrez-Espinoza H, Sánchez-Montoya U, Muñoz-Yañez MJ, Baeza-Vergara A, Petersen-Yanjarí M, et al. Effectiveness of omega-3 fatty acid supplementation in patients with Alzheimer disease: A systematic review and meta-analysis. Neurología. 2020;35(2):105-14.
  15. National Institutes of Health. Dietary Supplements in the Time of COVID-19: Fact Sheet for Health Professionals 2022 [Available from: https://ods.od.nih.gov/factsheets/COVID19-HealthProfessional/#h14.
  16. Chew EY, Clemons TE, Agrón E, Domalpally A, Keenan TDL, Vitale S, et al. Long-term outcomes of adding lutein/zeaxanthin and ω-3 fatty acids to the AREDS supplements on age-related macular degeneration progression: AREDS2 report 28. JAMA Ophthalmol. 2022; 140(7):692-698.
  17. Evans, J. R. and J. G. Lawrenson. Antioxidant vitamin and mineral supplements for slowing the progression of age-related macular degeneration. Cochrane Database Syst Rev.2023: 9(9): CD000254.
  18. Giannaccare, G., et al. Efficacy of omega-3 fatty acid supplementation for treatment of dry eye disease: A meta-analysis of randomized clinical trials. Cornea. 2019; 38(5): 565-573.
  19. Christen, W. G., et al. Efficacy of marine ω-3 fatty acid supplementation vs placebo in reducing incidence of dry eye disease in healthy US adults: A randomized clinical trial. JAMA Ophthalmol. 2022; 140(7): 707-714.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 427611