อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

ต้นสน

ชื่อสมุนไพร

ต้นสน

ชื่อวิทยาศาสตร์

Pinus pinaster ssp. atlantica

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • งานวิจัยในผู้ชายที่เป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศน้อยถึงปานกลาง จำนวน 124 คน รับประทานสารสกัดเปลือกต้นสนที่มีส่วนประกอบของ Pycnogenol ขนาด 20 มก.และ L-arginine aspartate ขนาด 700 มก. วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน พบว่า อาจช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้

            *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

  • การลดความดันโลหิตสูง มีงานวิจัย 12 การศึกษาในคนสุขภาพดีทั้งผู้สูงอายุและคนวัยทำงาน ผู้ป่วยเบาหวาน โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง จำนวน 922 คน รับประทานสารสกัดเปลือกต้นสนที่มีส่วนประกอบของ Pycnogenol พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการลดความดันโลหิต

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • การลดไขมันในเลือด มีงานวิจัย 14 การศึกษาในคน จำนวน 1,065 คน พบว่า สารสกัดเปลือกต้นสนที่มีส่วนประกอบของ Pycnogenol ขนาด 60-360 มก.ต่อวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ช่วยเพิ่มระดับไขมันดี (HDL) แต่ไม่ลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันไม่ดี (LDL)

            *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • ยังไม่มีงานวิจัยในผู้ป่วยเบาหวานที่น่าเชื่อถือยืนยันผลว่าช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำตาลสะสม (HbA1c) ได้

            *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • การบรรเทาอาการปวดเข่า มีงานวิจัย 5 การศึกษาในผู้ที่มีโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวนน้อย พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการบรรเทาอาการปวดข้อเข่า

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • การบรรเทาอาการในผู้ป่วยโรคหืด มีงานวิจัย 5 การศึกษาในผู้ป่วยโรคหืด จำนวนน้อย พบว่า เมื่อรับประทานสารสกัดเปลือกต้นสนที่มีส่วนประกอบของ Pycnogenol ร่วมกับการใช้ยารักษาโรคหืด อาจช่วยบรรเทาอาการโรคหืด แต่ผลเพิ่มสมรรถภาพปอด (FEV1) ยังไม่แน่นอน มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Ledda A, Belcaro G, Cesarone MR, Dugall M, Schönlau F. Investigation of a complex plant extract for mild to moderate erectile dysfunction in a randomized, double-blind, placebo-controlled, parallel-arm study. BJU Int. 2010;106(7):1030-3.
  2. Pourmasoumi M, Hadi A, Mohammadi H, Rouhani MH. Effect of pycnogenol supplementation on blood pressure: A systematic review and meta-analysis of clinical trials. Phytother Res. 2020;34(1):67-76.
  3. Hadi A, Pourmasoumi M, Mohammadi H, Javaheri A, Rouhani MH. The impact of pycnogenol supplementation on plasma lipids in humans: A systematic review and meta-analysis of clinical trials. Phytother Res. 2019;33(2):276-87.
  4. Schoonees A, Visser J, Musekiwa A, Volmink J. Pycnogenol® (extract of French maritime pine bark) for the treatment of chronic disorders. Cochrane Database Syst Rev. 2012(4):CD008294. 5. Simpson T, Kure C, Stough C. Assessing the efficacy and mechanisms of Pycnogenol® on cognitive aging from in vitro animal and human studies. Front Pharmacol. 2019;10:694.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 430338