อะร Detail Herb | Herbal Expert by Mayuree

ลำไย (longan)

ชื่อสมุนไพร

ลำไย (longan)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Dimocarpus longan Lour.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • เมล็ดลำไย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 75%, โปรตีน 7% และ กากใย 8%
  • เนื้อลำไย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 22%, โปรตีน 1.2%, น้ำตาล 4-10%, กากใยน้อย 0.4%, โพแทสเซียมสูง วิตามินต่าง ๆ เล็กน้อย ได้แก่ วิตามินซี, วิตามินบี และ วิตามินเค
  • ตำรายาจีนใช้ผงเมล็ดลำไย หยุดเลือด หรือ ลดอาการบวมจากการอักเสบ

            *ข้อมูลจากตำรายาจีน, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 174 คน ทาสารสกัดลำไยผสมน้ำมันระกำ (5%) ครั้งละ 2 กรัม วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 1 เดือน พบว่าให้ผลบรรเทาอาการปวดไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับน้ำมันระกำชนิดเดียว (5%)

             *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน 

  • งานวิจัยในผู้ที่นอนไม่หลับระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง อายุ 35-60 ปี จำนวน 54 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ได้รับน้ำตาลลำไย กลุ่มที่ได้รับน้ำตาลลำไยออร์แกนิค กลุ่มที่ได้รับน้ำตาลลำไยออร์แกนิคผสมสมุนไพร (สารสกัดบัวบก สารสกัดดอกคาโมมายล์ สารสกัดยอดอ่อนใบชาเขียว วิตามินอิโนซิทอล และโสมอินเดีย) เทียบกับกลุ่มที่ได้รับน้ำตาลทรายแดง ขนาด 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำเปล่า 1 แก้ว ดื่มก่อนนอน เป็นเวลา 1 เดือน พบว่า ทุกกลุ่มมีคุณภาพการนอนไม่แตกต่างกัน

            *น้อยถึงปานกลาง, ยังไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่าช่วลดระดับน้ำตาลในเลือดได้มากน้อยเพียงใด

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยทั้งในสัตว์ทดลองและในคนยืนยันผลว่ามีฤทธิ์ลดความดันโลหิตหรือช่วยเพิ่มความจำ

           *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่า น้ำลำไยสกัดเข้มข้นป้องกันหรือรักษาโควิดได้

           *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ *อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Rakariyatham K, Zhou D, Rakariyatham N, Shahidi F. Sapindaceae (Dimocarpus longan and Nephelium lappaceum) seed and peel by-products: Potential sources for phenolic compounds and use as functional ingredients in food and health applications. J Funct Foods. 2020;67:103846.
  2. Jiang Y, Joyce D, Lin H. 16 - Longan (Dimocarpus longan Lour.). In: Yahia EM, editor. Postharvest Biology and Technology of Tropical and Subtropical Fruits: Woodhead Publishing; 2011. p. 408-25e.
  3. Tang Y-Y, He X-M, Sun J, Li C-B, Li L, Sheng J-F, et al. Polyphenols and Alkaloids in Byproducts of Longan Fruits (Dimocarpus Longan Lour.) and Their Bioactivities. Molecules. 2019;24(6):1186.
  4. Zhang X, Guo S, Ho C-T, Bai N. Phytochemical constituents and biological activities of longan (Dimocarpus longan Lour.) fruit: a review. Food Science and Human Wellness. 2020;9(2):95-102.
  5. Monash University Low FODMAP DietTM
  6. ศิวดล วงค์ศักดิ์, ปพน สง่าสูงส่ง. การศึกษาความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวด ของผลิตภัณฑ์ ทา ถู นวด จากสารสกัดลำไย ในผู้ป่วยที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี;2566.
  7. ฉัตรภา หัตถโกศล, ศิริกัญญา ลับแล, มณีรัตน์ เตชะวิเชียร, et al. ประสิทธิผลของน้ำตาลลำไยต่อการเพิ่มคุณภาพการนอนหลับในอาสาสมัครที่มีภาวะนอนไม่หลับ. Rama Med J. 2023;46(2):29-42.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 427620