โสม

ชื่อสมุนไพร

โสม

ชื่อวิทยาศาสตร์

Panax ginseng

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • งานวิจัย 15 การศึกษาในผู้สูงอายุสุขภาพดี ผู้ที่มีการคิดวิเคราะห์บกพร่อง (cognitive impairment) ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 671 คน รับประทานโสมหรือสารสกัดโสม ขนาด 20-30 มก.ต่อวัน พบว่าช่วยเพิ่มความจำ แต่ไม่มีผลต่อการคิดวิเคราะห์ (cognitive improvement)

          *ปานกลาง, อาจใช้ในผู้สูงอายุที่ไม่ได้มีโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์

  • งานวิจัย 16 การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน พบว่า
    • สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โสมลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ มากกว่า 10 มก.ต่อเดซิลิตร แต่ไม่ลดระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) ผลจึงยังไม่แน่นอน
    • สำหรับผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน โสมไม่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงยังไม่แนะนำให้ใช้สำหรับป้องกันโรคเบาหวานในผู้ที่ยังไม่เป็นโรคเบาหวาน

             *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • สำหรับลดความดันโลหิต
    • งานวิจัย 9 การศึกษาในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง จำนวน 528 คน พบว่า โสมแดงของเกาหลีอาจช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ ในขณะที่โสมอเมริกาไม่มีผลลดความดันโลหิต
    • งานวิจัย 17 การศึกษาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม อ้วน หรือในคนสุขภาพดี จำนวน 1,381 คน รับประทานโสม พบว่า ไม่มีผลลดความดันโลหิตในทุกกลุ่มโรคและในคนสุขภาพดี

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • สำหรับลดไขมันในเลือด งานวิจัย 27 การศึกษาในผู้ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม น้ำหนักตัวเกิน หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือคนสุขภาพดี จำนวน 1,245 คน รับประทานโสม เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการลดไขมันในเลือด

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่าช่วยป้องกันโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองได้

           *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 11 การศึกษาในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ไขมันในเลือดสูง หรือโรคเบาหวาน จำนวน 573 คน รับประทานโสม ขนาด 3-6 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 1-3 เดือน พบว่า ผู้ที่ใช้และไม่ใช้โสมลดน้ำหนักตัวและดัชนีมวลกาย (BMI) ได้ไม่แตกต่างกัน

            *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 10 การศึกษาในหญิงวัยหมดประจำเดือน พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลสำหรับลดอาการร้อนวูบวาบในหญิงวัยหมดประจำเดือน

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 7 การศึกษาในผู้ชายที่เป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ จำนวน 349 คน รับประทานโสมเกาหลีแดง ครั้งละ 600 มก. วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 1-3 เดือน พบว่า อาจช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 5 การศึกษาในผู้ป่วยมะเร็ง จำนวน 347 คน รับประทานโสม พบว่าช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย

            *ต่ำ, ยังไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai