สะเดา

ชื่อสมุนไพร

สะเดา

ชื่อวิทยาศาสตร์

Azadirachta indica A. Juss.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • ยอดอ่อนและดอก ลวกน้ำร้อน กินกับน้ำปลาหวานหรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก ช่วยให้เจริญอาหาร

           *ข้อมูลจากการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน, แนะนำให้ใช้

  • ใบสะเดาเป็นส่วนประกอบใน
    • ตำรับยาแก้รำมะนาด สำหรับแก้รำมะนาดและเหงือกบวมในระยะแรก
    • ตำรับยาแก้ลมปัตฆาต สำหรับแก้จุกเสียด
    • ตำรับยาแก้วาโยกำเริบ สำหรับแก้ลมตีขึ้นเบื้องสูง
    • ตำรับยาจิตรวาโย สำหรับแก้ลมจับหัวใจให้เย็นเหน็บไปทั้งตัว/ ตำรับยาชุมนุมวาโย สำหรับแก้ลมในเส้น ลมในผิวหนัง ลมในโลหิต ลมในกระดูก ลมในเนื้อ เป็นต้น
    • ตำรับยาแก้ลมพาหุรวาโย สำหรับแก้ลมพาหุรวาโย อันเกิดแต่กองสุขุมังคะวาต
    • ตำรับยามหาวาโย สำหรับแก้ลมอัมพาต ลมราทยักษ์ และลมปัตฆาต/ ตำรับยาแก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต สำหรับแก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต แก้ปวดเข่า ปวดข้อ
    • ตำรับยาหทัยวาตาธิคุณ สำหรับแก้ลมหทัยวาตะ ซึ่งทำให้มึนตึง
    • ตำรับยาพอกฝี

            *ข้อมูลจากตำรายาแผนไทย, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • ก้านสะเดาเป็นส่วนประกอบในตำรับยาแปรไข้ สำหรับแก้ไข้ตัวร้อน ไข้จับสั่น ไข้ 3 ฤดู

           *ข้อมูลจากตำรายาแผนไทย, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • งานวิจัยในบุคลากรทางการแพทย์ในรพ. จำนวน 190 คน รับประทานสารสกัดใบสะเดา ขนาด 50 มก. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 28 วัน ร่วมกับปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อ โดยมีการติดตามอาการและการตรวจการติดเชื้อโรคโควิด เป็นเวลา 56 วัน พบว่า กลุ่มที่รับประทานสารสกัดสะเดาติดเชื้อโควิด (4.3%) น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทาน (9.5%) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในผู้ป่วยมะเร็งว่าสะเดาต้านมะเร็งได้

          *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai