หอมหัวใหญ่

ชื่อสมุนไพร

หอมหัวใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์

Allium cepa L.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • งานวิจัยในผู้ที่มีผมร่วงเป็นหย่อม ทั้งชายและหญิง จำนวน 38 คน ทาน้ำหอมหัวใหญ่ที่ศีรษะ วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน พบว่า ผู้ที่ใช้น้ำหอมหัวใหญ่มีผมขึ้นใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ข้อบ่งใช้การรักษาแผลเป็น
    • งานวิจัยในผู้ที่มีแผลจากการเอากระเนื้อออก จำนวน 44 คน ทาเจลสารสกัดหัวหอมใหญ่ รูปแบบทาวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่า ช่วยให้แผลเป็นดีขึ้น
    •  *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้
    • งานวิจัยในผู้ที่มีแผลหลังผ่าคลอด จำนวน 20 คน หลังผ่าตัด 7 วัน ทาเจลสารสกัดหัวหอมใหญ่ ความเข้มข้น 12% วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ช่วยบรรเทาอาการแผล แต่ไม่มีผลต่อความแดงและความนูนของแผลเป็น
    • *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน
    • งานวิจัยในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบที่มีแผลผ่าตัดหัวใจ จำนวน 39 คน หลังผ่าตัด 7 วัน ทาเจลสารสกัดหัวหอมใหญ่ ความเข้มข้น 10% วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน พบว่า ร้อยละ 20 ไม่มีรอยแผลเป็น และลดแผลนูนแดงได้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้
    • *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน
  • สำหรับลดน้ำหนักตัว งานวิจัยในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน จำนวน 72 คน รับประทานสารสกัดเปลือกหอมหัวใหญ่ที่มี quercetin 100 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ลดน้ำหนัก (0.8 กก.) และดัชนีมวลกายได้เล็กน้อย (0.3 กก./ตารางเมตร)

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • สำหรับลดระดับไขมันในเลือด งานวิจัยในคนสุขภาพดี 20 คน รับประทานสารสกัดเปลือกหอมหัวใหญ่ที่มี quercetin 100 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่า เพิ่มไตรกลีเซอไรด์ ลดไขมันดี (HDL) ลดไขมันไม่ดี (LDL) และลดคอเลสเตอรอล

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่าช่วยป้องกันโรคหวัดหรือโควิด-19 ได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai