มะขามป้อม

ชื่อสมุนไพร

มะขามป้อม

ชื่อวิทยาศาสตร์

Phyllanthus emblica L. หรือ Emblica officinalis Gaertn.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • ประกอบด้วยโพแทสเซียมและออกซาเลตสูง และวิตามินซี (720 มก./100 กรัม)
  • บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2562 แนะนำให้ใช้สำหรับบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ
  • ใช้เนื้อผลสดที่โตเต็มที่ 2 - 3 ผล โขลกพอแหลก  ใส่เกลือเล็กน้อย อมหรือเคี้ยว วันละ 3 - 4 ครั้ง บรรเทาอาการไอ หรือระคายคอจากเสมหะ

           *ข้อมูลจากการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • งานวิจัยในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง จำนวน 98 คน รับประทานสารสกัดมะขามป้อม ขนาด 500 มก. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ลดระดับไขมันคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันไม่ดี (LDL) ได้

            *สูง, แนะนำให้ใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโควิดที่นอนรักษาตัวในรพ. จำนวน 61 คน ได้รับยา hydroxychloroquine ขนาด 200 มก.,ยา lopinavir/ritonavir 2 เม็ด และผงมะขามป้อม 2 กรัม หรือ ชาชง 100 มล. (ประกอบด้วย gallic acid 0.79 กรัม) ทุก 12 ชม. เป็นเวลา 10 วัน พบว่า กลุ่มที่ได้รับมะขามป้อม มีจำนวนวันที่นอนรพ. (4 วัน) น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ (7 วัน)

            *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ใช้ยา enalapril หรือ amlodipine ขนาด 5 มก. วันละ 1 ครั้ง แล้วยังควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มม.ปรอทไม่ได้ จำนวน 150 คน ได้รับมะขามป้อมแคปซูลสกัดด้วยน้ำ ขนาด 500 มก.วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า กลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับมะขามป้อมให้ผลในการลดความดันโลหิตไม่แตกต่างกัน

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในผู้ป่วยเบาหวานยืนยันผลว่าลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai