หญ้าฝรั่น (saffron)

ชื่อสมุนไพร

หญ้าฝรั่น (saffron)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Crocus sativus L.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • งานวิจัย 11 การศึกษาในผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน (prediabetes) ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ผู้ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม หรือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • การลดระดับไขมันในเลือด มีงานวิจัย 2 การศึกษา พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • การลดความดันโลหิต มีงานวิจัย 3 การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หรือโรคทางจิตเภท จำนวน 196 คน รับประทานหญ้าฝรั่น 30 มก.ต่อวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน พบว่า ลดความดันโลหิตค่าล่าง (DBP) ได้เล็กน้อย (1 มม.ปรอท) แต่ไม่ลดความดันโลหิตค่าบน (SBP)

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 5 การศึกษาในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หรือ โรคหัวใจ จำนวน 210 คน พบว่า ลดน้ำหนักตัวได้เล็กน้อย (1.24 กก.) แต่ไม่ลดดัชนีมวลกาย (BMI)

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 2 การศึกษาในผู้ชายที่มีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ จำนวน 567 คน รับประทานหญ้าฝรั่น ขนาด 30-60 มก.ต่อวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน พบว่า ไม่มีผลช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยรูปแบบ RCT ในผู้ชายโรคเบาหวาน จำนวน 50 คน ทาหญ้าฝรั่นเจล 1% ก่อนมีเพศสัมพันธ์ 30 นาที พบว่า เพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • การบรรเทาอาการปวดประจำเดือน มีงานวิจัย 2 การศึกษาในหญิงที่มีอาการปวดประจำเดือน จำนวน 151 คน พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล จึงยังไม่สามารถสรุปผลได้ ควรรอผลการศึกษาในคนจำนวนเพิ่มขึ้น
  • งานวิจัย 11 การศึกษาในผู้ที่มีอาการซึมเศร้าน้อยถึงปานกลาง จำนวน 531 คน รับประทานหญ้าฝรั่น ขนาด 30 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือน พบว่า ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai