ถั่วเหลือง

ชื่อสมุนไพร

ถั่วเหลือง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Glycine max (L.) Merr.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • งานวิจัย 17 การศึกษาในหญิงวัยหมดประจำเดือน รับประทานถั่วเหลืองที่มีสารไอโซฟลาโวน (isoflavones) ขนาด 54 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ถึง 12 เดือน พบว่าลดอาการร้อนวูบวาบได้ร้อยละ 20

           *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

  • งานวิจัยในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน เป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง หรือภาวะเมแทบอลิกซินโดรม จำนวน 2,670 คน รับประทานถั่วเหลือง ขนาด 35 มก./วัน พบว่าลดคอเลสเตอรอลได้

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัยในคนจีนจำนวน 63,257 คน ที่รับประทานโปรตีนจากถั่วเหลือง ขนาด 5.2 กรัมต่อวัน หรือ ถั่วเหลืองที่มี isoflavones ขนาด 15.8 มก.ต่อวัน หรือเต้าหู ขนาด 87.4 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 5 ปี ไม่พบว่าช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยมากกว่า 10 การศึกษาในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงและผู้ที่มีความดันโลหิตปกติ รับประทานถั่วเหลืองหรือโปรตีนจากถั่วเหลือง เป็นเวลาอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ลดความดันโลหิต

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 19 การศึกษาในหญิงวัยหมดประจำเดือน จำนวน 1,442 คน รับประทานถั่วเหลืองที่มี isoflavones อย่างน้อย 75 มก.ต่อวัน พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ในการเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก (bone mass density)

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 20 การศึกษาในหญิงที่มีภาวะซึมเศร้า รับประทานถั่วเหลืองที่มี isoflavones 12.5-120 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ถึง 2 ปี พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ในการบรรเทาอาการซึมเศร้า

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 16 การศึกษาในผู้ที่เป็นและไม่เป็นมะเร็งเต้านม จำนวน 660,082 คน พบว่า ผู้ที่ใช้และไม่ใช้ถั่วเหลือง มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai