รางจืด

ชื่อสมุนไพร

รางจืด

ชื่อวิทยาศาสตร์

Thunbergia laurifolia Lindl.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2562 แนะนำให้ใช้รางจืดสำหรับถอนพิษไข้ แก้ร้อนใน หรือถอนพิษเบื่อเมา รับประทานครั้งละ 2-3 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120-200 มล. วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร หรือเมื่อมีอาการ

            *รับรองโดยบัญชียาหลักแห่งชาติ, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น, สามารถนำมาใช้บรรเทาอาการเมากัญชาได้

      การลดพิษยาฆ่าแมลงของรางจืด

  • งานวิจัยในเกษตรกรที่สัมผัสยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมท จำนวน 60 คน ได้รับสารสกัดรางจืด ขนาด 600 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าให้ผลลดความเป็นพิษจากยาฆ่าแมลงไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่ได้ใช้
  • งานวิจัยในเกษตรกรที่สัมผัสยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมท  จำนวน 85 คน ได้รับสารสกัดรางจืด ขนาด 2 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่า อาจลดความเป็นพิษจากยาฆ่าแมลงได้
  • งานวิจัยในคน พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในคนสุขภาพดีที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จำนวน 15 คน เคี้ยวหมากฝรั่งผสมสารสกัดรางจืด ความเข้มข้น 10% ชิ้นละ 5 กรัม พบว่า หมากฝรั่งผสมสารสกัดรางจืดลดปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจได้อย่างน้อย 50% และเมื่อเคี้ยว 5 ชิ้น สามารถลดปริมาณแอลกอฮอล์ได้เกือบหมด

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่าชารางจืดช่วยขับตะกั่วหรือโลหะหนักอื่น ๆ

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่ารางจืดช่วยขับสารเสพติดได้ เช่น ยาบ้า หรือ กระท่อม

           *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่าชารางจืดช่วยขับของเสียในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เพื่อช่วยชะลอไตเสื่อม

           *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai