ย่านาง

ชื่อสมุนไพร

ย่านาง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Tiliacora triandra (Colebr.) Diels

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • โดยทั่วไปนำมาปรุงเป็นอาหาร
  • ใบย่านางแห้งมีสารอาหาร ดังนี้ แคลเซียม (155 มก./100 กรัม), เบต้า แคโรทีน (11 มก./100 กรัม), วิตามินอี (34 มก./100 กรัม), วิตามินเอ (30,625 IU/100 กรัม), มีธาตุเหล็กและวิตามินซีเล็กน้อย
  • เป็นส่วนประกอบใน
    • ตำรับยามหานิลแท่งทอง สำหรับบรรเทาอาการไข้จากไข้กาฬ หัด และอีสุกอีใส แก้ร้อนในกระหายน้ำ
    • ตำรับยากำลังราชสีห์ สำหรับบำรุงโลหิต บำรุงร่างกาย (ใช้รากย่านาง)

           *ข้อมูลจากตำรายาแผนไทย, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • รากย่านางเป็นส่วนประกอบในตำรับยาหอมอินทจักร์ แก้ลม แก้คลื่นเหียนอาเจียน

           *รับรองโดยบัญชียาหลักแห่งชาติ, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • ยังไม่มีงานวิจัยใน
    • ผู้ป่วยโรคไตยืนยันผลว่าช่วยชะลอไตเสื่อมหรือขับสารพิษได้
    • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงยืนยันว่าช่วยลดความดันโลหิตได้
    • คนยืนยันว่าช่วยรักษาเกาต์ ไทรอยด์ หรือลดระดับไขมันในเลือดได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai