คาโมมายล์ (chamomile)

ชื่อสมุนไพร

คาโมมายล์ (chamomile)

ชื่อวิทยาศาสตร์

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • บรรเทาอาการแผลในช่องปากจากยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี

           *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

  • งานวิจัยในผู้ที่เป็นแผลในปากบ่อย ๆ จำนวน 45 คน ทาครีมสารสกัดคาโมมายล์ เป็นเวลา 6 วัน พบว่า อาจช่วยรักษาแผลในปากและลดอาการปวดแผลในปากได้ดีกว่าไม่ได้ใช้ แต่มีประสิทธิผลน้อยกว่าครีม triamcinolone

           *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

  • งานวิจัยในผู้ที่เจ็บคอและเสียงแหบจากการทำหัตถการ จำนวน 161 คน ได้รับยาพ่นสารสกัดคาโมมายล์ ขนาด 370 มก. หลังการทำหัตถการ พบว่า ไม่ได้ผลบรรเทาอาการ

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลบรรเทาอาการเจ็บคอจากหวัด หรือ รักษาโรคหวัด

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้สูงอายุที่มีอาการนอนไม่หลับ จำนวน 60 คน รับประทานสารสกัดคาโมมายล์ ขนาด 200 มก. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 28 วัน พบว่า อาจช่วยเพิ่มคุณภาพการนอน

           *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

  • งานวิจัย 12 การศึกษาในผู้ที่มีอาการวิตกกังวล ไม่พบว่าคาโมมายล์ช่วยบรรเทาอาการได้

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 8 การศึกษาในนักเรียนที่มีอาการปวดท้องประจำเดือน จำนวน 618 คน รับประทานชาหรือสารสกัดคาโมมายล์ พบว่าอาจช่วยบรรเทาอาการได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยข้อเข่าอักเสบ อายุ 38-65 ปี จำนวน 84 คน ทาน้ำมันคาโมมายล์ (สกัดสารสำคัญจากดอกคาโมมายล์ด้วยน้ำ) วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เทียบยา diclofenac gel 1% และยาหลอก พบว่า กลุ่มที่ทาน้ำมันคาโมมายล์ใช้พาราเซตามอลน้อยกว่ากลุ่มอื่น 7 เม็ด แต่พบว่าทั้ง 3 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องอาการปวด ข้อตึง และการเคลื่อนไหวข้อ

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai