แก่นตะวัน (artichoke)

ชื่อสมุนไพร

แก่นตะวัน (artichoke)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Helianthus tuberosus L.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • งานวิจัย 9 การศึกษาในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง จำนวน 702 คน รับประทานสารสกัดน้ำจากใบแก่นตะวัน ขนาด 500-2,700 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 1-3 เดือน พบว่า ลดระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันไม่ดี (LDL) ได้ประมาณ 10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ไม่มีผลเพิ่มไขมันดี (HDL)

           *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้ แต่ห้ามใช้แทนยาลดไขมันในเลือด เพราะไม่มีผลป้องกันการเกิดโรคหัวใจ

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันว่าสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้

            *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันว่าแก่นตะวันเพียงชนิดเดียวช่วยลดน้ำหนักตัว ลดระดับน้ำตาลในเลือด หรือฆ่าเซลล์มะเร็งได้

            *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ที่มีไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (NAFLD)  จำนวน 100 คน รับประทานสารสกัดใบแก่นตะวันขนาด 600 มก.ต่อวัน  เป็นเวลา 2 เดือน พบว่า ช่วยบรรเทาความรุนแรงของไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์

            *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโรคอาหารไม่ย่อย (functional dyspepsia) จำนวน 247 คน รับประทานสารสกัดใบแก่นตะวัน ขนาด 320 มก. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า ช่วยบรรเทาอาการ dyspepsia

           *สูง, แนะนำให้ใช้ แต่ไม่ได้ใช้เป็นทางเลือกแรกในการรักษา

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai