งาดำ

ชื่อสมุนไพร

งาดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Sesamum orientale L.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • งาดำ 1 ช้อนโต๊ะ มีสารอาหาร ดังนี้ โปรตีน 30%, คาร์โบไฮเดรต 20%, ไขมัน 30%, ใยอาหาร 6%, แคลเซียม 20%, แมกนีเซียม 15% และธาตุเหล็ก 25%
  • น้ำมันงามีส่วนประกอบของวิตามินอี 45 มก.ต่อ 100 กรัม
  • งานวิจัย 10 การศึกษาในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือน้ำหนักตัวเกิน จำนวน 908 คน พบว่า เมื่อรับประทานเมล็ดงา 25-50 กรัมต่อวัน หรือใช้น้ำมันงาทำอาหารแทนน้ำมันพืชอื่น เป็นเวลา 1-2 เดือน พบว่า มีผลลดไตรกลีเซอไรด์ แต่ไม่มีผลลดคอเลสเตอรอล ระดับไขมันไม่ดี (LDL) และเพิ่มไขมันดี (HDL)

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • สำหรับผลลดความดันโลหิต มีงานวิจัย 4 การศึกษาในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง จำนวน 645 คน พบว่า เมื่อรับประทานน้ำมันงาหรือผงงา เป็นเวลา 1-2 เดือน พบว่า ช่วยลดความดันโลหิตได้

            *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันว่าสามารถป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดได้

            *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 8 การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หรือมีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม จำนวน 517 คน รับประทานน้ำมันงา เมล็ดงา หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผสมงา เป็นเวลา 6-12 สัปดาห์ พบว่า ลดระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำตาลสะสม (HbA1c) ได้

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • การลดน้ำหนักตัว งานวิจัย 10 การศึกษาในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคไขมันในเลือดสูง หรือ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ จำนวน 750 คน รับประทานเมล็ดงา หรือ น้ำมันงา ขนาด 25- 60 กรัมต่อวัน หรือ แคปซูลสารสกัดงา ขนาด 200 มก.ต่อวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการลดน้ำหนักตัวและดัชนีมวลกาย

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยที่มีอาการปวดจากการบาดเจ็บรุนแรง จำนวน 150 คน พบว่า การทาน้ำมันงาเข้มข้น 100% ร่วมกับการรักษามาตรฐาน พบว่า อาจช่วยบรรเทาอาการปวดและลดการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs จะเริ่มเห็นผลในวันที่ 4 ของการใช้

            *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้ร่วมกับการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัยในผู้หญิงโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ จำนวน 44 คน รับประทานสารสกัดงา ขนาด 200 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า อาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้

            *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • ยังไม่มีการศึกษาในผู้ชาย และผู้ที่มีอาการปวดจากโรคอื่น เช่น ข้อเข่าเสื่อม

            *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ จำนวน 33 คน รับประทานเมล็ดหรือผงงาดำ ขนาด 20 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า อาจช่วยเพิ่มคุณภาพการนอน

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันว่าช่วยป้องกันหรือรักษาไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้หญิงที่เป็นโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (non alcoholic fatty liver disease) และอ้วน จำนวน 60 คน ได้รับน้ำมันงา ขนาด 30 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน ร่วมกับการรับประทานอาหารพลังงานต่ำ พบว่า กลุ่มที่ได้รับน้ำมันงาลดระดับความรุนแรงของไขมันพอกตับได้มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก และกลุ่มที่ได้รับน้ำมันงาลดเอนไซม์ตับ (AST, ALT) ได้ 5 mg/dl มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • ยังไม่งานวิจัยในคนยืนยันว่าช่วยป้องกันโควิด-19 หรือต้านมะเร็ง

            *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai