โพรไบโอติก (probiotics)

ชื่อสมุนไพร

โพรไบโอติก (probiotics)

ชื่อวิทยาศาสตร์

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
  • งานวิจัย 63 การศึกษาในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอาการท้องเสีย พบว่า โพรไบโอติกสายพันธุ์ Lactobacillus GG และ S. boulardii ช่วยทำให้หายเร็วขึ้น

           *สูง, แนะนำให้ใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัยมากกว่า 20 การศึกษาในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน มากกว่า 1,000 คน พบว่า โพรไบโอติกยังให้ผลไม่แน่นอน  บางการศึกษาลดน้ำหนักตัวได้ บางการศึกษาลดไม่ได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโควิด จำนวน 445,850 คน ที่รายงานการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารด้วยตนเอง พบว่า ผู้ที่ใช้โพรไบโอติก ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด

           *ปานกลาง, อาจใช้ร่วมกับมาตรการป้องกันโควิดอื่น ๆ

  • งานวิจัยในผู้ป่วยวัยกลางคนเป็นโควิดรุนแรงน้อยและมีน้ำหนักตัวเกิน จำนวน 300 คน รับประทานโพรไบโอติก 4 สายพันธุ์ คือ Lactiplantibacillus plantarum KABP033, KABP022, KABP023 และ Pediococcus acidilactici KABP021 ในสัดส่วน 3:1:1:1 รับประทานวันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหาร เป็นเวลา 1 เดือน ร่วมกับการใช้ยาพาราเซตามอลบรรเทาอาการไข้ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่รับประทานโพรไบโอติกมีสัดส่วนการหายจากโรคโควิดภายในวันที่ 30 วันมากกว่า มีปริมาณเชื้อโควิดในโพรงจมูกน้อยกว่า และภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิดมากกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัย 10 การศึกษาในผู้หญิงที่ติดเชื้อราในช่องคลอด จำนวน 1,656 คน ใช้โพรไบโอติก Lactobacillus spp. รูปแบบรับประทานหรือใช้ภายในช่องคลอด ขนาด 10 ยกกำลัง 9 - 10 ยกกำลัง 11 colony-forming units ร่วมกับยาฆ่าเชื้อรา เป็นเวลา 14 วัน พบว่า ทำให้หายเร็วขึ้น แต่เมื่อใช้เป็นเวลา 1 เดือน ให้ผลไม่แตกต่างระหว่างผู้ที่ใช้และไม่ได้ใช้โพรไบโอติก

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 5 การศึกษาในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ผู้ที่มีความจำและการคิดวิเคราะห์บกพร่องเล็กน้อย (mild cognitive impairment) หรือพาร์กินสันจำนวน 342 คน รับประทานโพรไบโอติก สายพันธุ์ Lactiplantibacillus spp. และ Bifidobacterium spp. เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ช่วยเพิ่มความสามารถด้านความจำและการคิดวิเคราะห์ (cognitive function)

           *ปานกลางถึงสูง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • ยังไม่มีงานวิจัยคนยืนยันผลว่าช่วยป้องกันหรือชะลอความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์ได้

           *ต่ำ, ยังไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai