กัญชา

ชื่อสมุนไพร

กัญชา

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cannabis sativa L. subsp. indica

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • สารสกัดกัญชาเพิ่มความอยากอาหารและน้ำหนักตัวในผู้ป่วยเอชไอวี

           *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้ เมื่อใช้ยามาตรฐานรักษาแล้วไม่ได้ผล

  • งานวิจัย 5 การศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับ THC พบว่ามีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการเพิ่มความอยากอาหาร

           *ต่ำ, ยังไม่แนะนำให้ใช้ 

  • งานวิจัย 11 การศึกษาในผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่โรคมะเร็งและอาการปวดรบกวนการนอน จำนวน 906 คน รับประทานกัญชาที่มี THC พบว่า หนึ่งในห้าของผู้ที่ได้รับกัญชาลดปัญหาอาการปวดรบกวนการนอน

           *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้ เมื่อใช้ยามาตรฐานรักษาแล้วไม่ได้ผล

      ข้อบ่งใช้บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง

  • งานวิจัย 32 การศึกษาในผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังที่ไม่ได้มีสาเหตุจากมะเร็ง 28 การศึกษา และปวดเรื้อรังจากมะเร็ง 4 การศึกษา พบว่า กัญชาทางการแพทย์รูปแบบรับประทานบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง และช่วยให้นอนหลับได้เล็กน้อย

            *สูง, แนะนำให้ใช้ เมื่อใช้ยารักษามาตรฐานแล้วไม่ได้ผล เพราะให้ผลน้อย

  • สารสกัดกัญชารูปแบบสเปรย์พ่นในช่องปาก โดยมีสัดส่วนของสาร Cannabidiol (CBD) ต่อ Tetrahydrocannabinol (THC) เท่ากับ 1:1 ช่วยบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยมะเร็งได้

           *สูง, แนะนำให้ใช้ เมื่อใช้ยามาตรฐานรักษาแล้วไม่ได้ผล

      ข้อบ่งใช้ในผู้ป่วยมะเร็ง

  • สารสกัดกัญชาที่มีสาร THC ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง

            *สูง, แนะนำให้ใช้ เมื่อใช้ยามาตรฐานรักษาแล้วไม่ได้ผล

  • ผู้ที่ใช้และไม่ใช้สารสกัดกัญชา พบว่า เพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งไม่แตกต่างกัน

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 25 การศึกษาในผู้ป่วยโรคมัลติเพิลสเคลอโรสิส (multiple sclerosis) จำนวน 3,763 คน สารสกัดกัญชารูปแบบสเปรย์พ่นในช่องปาก โดยมีสัดส่วนของสาร Cannabidiol (CBD) ต่อ Tetrahydrocannabinol (THC) เท่ากับ 1:1 (13 การศึกษา) หรือสารสกัด THC (2 การศึกษา) การศึกษาอื่นๆ ใช้สารสังเคราะห์ THC เป็นต้น เทียบกับยาหลอก พบว่า
    • ลดความรุนแรงของกล้ามเนื้อหดเกร็ง
      • *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน
    • ลดอาการปวดปลายประสาท
      • *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้
    • ไม่มีผลเพิ่มคุณภาพชีวิต
      • *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้
  • งานวิจัยในผู้ที่มีอาการปวดปลายประสาททั้ง central and peripheral neuropathic pain พบว่า สารสกัดกัญชา CBD:THC อัตราส่วน 1:1 ช่วยบรรเทาอาการปวดปลายประสาท

            *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้ เมื่อใช้ยามาตรฐานรักษาแล้วไม่ได้ผล

  • มีรายงานในผู้ป่วยชาย อายุ 81 ปี โรคมะเร็งปอดและมะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง จำนวน 1 รายปฏิเสธเข้ารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือการฉายแสง ได้รับน้ำมัน CBD 2% ขนาด 2 หยด (CBD 1.32 มก.) วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นได้รับ ขนาด 9 หยด (CBD 6 มก.) วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นหยุดใช้เพราะมีอาการคลื่นไส้ พบว่า มะเร็งมีขนาดเล็กลง

            *ต่ำ, ยังไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโควิดที่มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง จำนวน 91 คน รับประทาน CBD ขนาด 300 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 14 วัน ร่วมกับการรักษามาตรฐาน พบว่า ผู้ที่ได้รับและไม่ได้รับ CBD ให้ผลบรรเทาอาการและลดปริมาณเชื้อไวรัสได้ไม่แตกต่างกัน

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จำนวน 39 คน รับประทาน THC สังเคราะห์ ขนาดยาที่ได้รับ 1.5 มก. วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์ พบว่า เพิ่มการคิดวิเคราะห์ได้เล็กน้อย (cognitive function)

          *น้อยถึงปานกลาง, ยังไม่แนะนำให้ใช้ 

  • งานวิจัย 3 การศึกษาในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จำนวน 83 คน ได้รับ CBD หรือ THC ร่วมกับยา levodopa พบว่าให้ผลไม่แตกต่างจากยาหลอกสำหรับบรรเทาอาการพาร์กินสันโดยรวม แต่มีหนึ่งการศึกษาพบว่าช่วยบรรเทาอาการความผิดปกติของการเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมได้ (dyskinesia)

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนที่น่าเชื่อถือยืนยันผลว่า
    • ช่วยบรรเทาอาการไมเกรน หรือ เพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้

             *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai