แปะก๊วย (ginkgo)

ชื่อสมุนไพร

แปะก๊วย (ginkgo)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Ginkgo biloba

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • งานวิจัย 6 การศึกษาในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ พบว่า การรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วย EGb761® ขนาด 240 มก.ต่อวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน อาจช่วยบรรเทาอาการผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ได้

            *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

  • แนวทางการรักษาในเอเชีย พ.ศ. 2562 แนะนำให้ใช้สารสกัดใบแปะก๊วย EGb761® เมื่อผู้ป่วยทนต่ออาการข้างเคียงของยาแผนปัจจุบันไม่ได้ หรืออาจใช้เสริมการรักษาแผนปัจจุบัน ยังไม่แนะนำให้ใช้สารสกัดใบแปะก๊วย EGb761® เพียงชนิดเดียว
  • แนวเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อมของประเทศไทย พ.ศ.2563 ไม่แนะนำให้ใช้แปะก๊วยสำหรับป้องกันภาวะสมองเสื่อม แต่อาจช่วยบรรเทาอาการความบกพร่องด้านความจำและการคิดวิเคราะห์ได้เล็กน้อย (mild cognitive impairment)
  • สำหรับสารสกัดใบแปะก๊วยที่ไม่ใช่ EGb761® มีงานวิจัยในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และคนในวัยเรียนหรือวัยทำงาน งานวิจัยพบว่ามีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการเพิ่มความจำ หรือชะลอโรคอัลไซเมอร์ แต่ยังไม่ได้ผลในการป้องกันโรคสมองเสื่อม

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในรูปแบบที่ไม่ใช่สารสกัดใบแปะก๊วยสำหรับบรรเทาอาการโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ จึงยังไม่แนะนำให้ใช้รูปแบบนี้เพื่อหวังผลด้านสุขภาพ

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 2 การศึกษาในผู้ที่ได้รับยาต้านซึมเศร้าและมีปัญหาสมรรถภาพทางเพศลดลง ทั้งผู้ชายและผู้หญิง จำนวน 61 คน รับประทานสารสกัดใบแปะก๊วย เป็นเวลา 2-3 เดือน พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีการศึกษาใน
    • ผู้ที่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศจากสาเหตุอื่น
    • งานวิจัยคุณภาพดีในคนเพื่อยืนยันผลสำหรับโรคต้อหิน

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 2 การศึกษาในผู้ที่มีจอประสาทตาเสื่อม จำนวน 60 คน รับประทานสารสกัดใบแปะก๊วย EGb761® ขนาด 160-240 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือน พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai