ซิงค์ (zinc) หรือ ธาตุสังกะสี

ชื่อสมุนไพร

ซิงค์ (zinc) หรือ ธาตุสังกะสี

ชื่อวิทยาศาสตร์

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • สำหรับเสริมอาหารในผู้ที่ขาดซิงค์ เช่น ผู้สูงอายุที่รับประทานอาหารได้น้อย, หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร เพราะร่างกายต้องซิงค์มากกว่าคนทั่วไป, ผู้ที่ติดแอลกอฮอล์
  • งานวิจัยในผู้ที่อ้วน จำนวน 40 คน ได้รับซิงค์ขนาด 30 มก.ต่อวัน ร่วมกับการควบคุมอาหาร เป็นเวลา 15 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ใช้และไม่ใช้ซิงค์ให้ผลลดน้ำหนักตัวและดัชนีมวลกาย (BMI) ไม่แตกต่างกัน คือ ไม่ได้ผลในการลดน้ำหนักตัว

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 16 การศึกษาในผู้ที่มีสุขภาพดี จำนวน 1,387 คน พบว่า การรับประทานซิงค์รูปแบบยาอม ขนาดอย่างน้อย 75 มก.ต่อวัน ภายใน 24 ชม. เมื่อเริ่มเป็นหวัด (common cold) จะช่วยลดจำนวนวันที่เป็นหวัดได้ 1 วัน แต่ไม่ลดความรุนแรงของโรค

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 28 การศึกษาในผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ จำนวน 5,446 คน พบว่า

            ผู้สูงอายุ รับประทานซิงค์แคปซูล ขนาด 45 มก.ต่อวัน ลดการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ซิงค์

                      *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

            ยาอมซิงค์ป้องกันการเป็นหวัดไม่ได้

                      *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 6 การศึกษาในเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี จำนวน 5,193 คน รับประทานซิงค์ ขนาด 10 มก.ต่อวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 4 เดือน พบว่าอาจช่วยลดการเกิดปอดบวมได้

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโควิด จำนวน 445,850 คน ที่รายงานการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารด้วยตนเอง พบว่า ผู้ที่ใช้ซิงค์และไม่ใช้ มีความเสี่ยงการติดเชื้อโควิดไม่แตกต่างกัน

            *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโควิด จำนวน 214 คน ได้รับซิงค์ (zinc gluconate) ขนาด 50 มก.ต่อวัน หรือวิตามินซี ขนาด 8,000 มก.ต่อวัน หรือใช้ร่วมกัน เทียบกับการรักษามาตรฐาน พบว่าทั้งกลุ่มที่ได้เกลือแร่หรือวิตามินเดี่ยว ๆ หรือได้ร่วมกัน ลดระยะเวลาที่มีอาการโควิดได้ไม่แตกต่างจากการรักษามาตรฐาน

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • แนวทางการรักษาจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุของอเมริกาและอังกฤษ พ.ศ. 2561 และ 2562 สรุปว่า การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของซิงค์ ไม่ช่วยชะลอจอประสาทตาเสื่อมในระยะเริ่มต้นถึงปานกลาง สำหรับผู้ที่เป็นจอประสาทตาเสื่อมระยะท้าย งานวิจัยยังมีคนจำนวนไม่พอที่จะสรุปได้ จึงยังไม่แนะนำให้ใช้
  • งานวิจัยในผู้ที่ผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) จากการขาดซิงค์ 15 คน รับประทานซิงค์ ขนาด 50 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 60 อาการดีขึ้น ผู้ป่วยที่เหลืออาการดีขึ้นน้อยหรือไม่ตอบสนอง แม้ว่าผู้ป่วยทั้งหมดมีระดับซิงค์ในเลือดเพิ่มขึ้น

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai