โคเอนไซม์ คิวเท็น (coenzyme Q10; CoQ10)

ชื่อสมุนไพร

โคเอนไซม์ คิวเท็น (coenzyme Q10; CoQ10)

ชื่อวิทยาศาสตร์

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • สำหรับผู้ที่ขาดโคเอนไซม์ คิวเท็น
    • สำหรับเด็ก แนะนำขนาด 5-30 มก./น้ำหนักตัว (กก.)/วัน แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง
    • วัยรุ่น ขนาด 300-1,500 มก./วัน
    • ผู้ใหญ่ สูงสุดไม่เกิน 2,400 มก./วัน
  • งานวิจัย 14 การศึกษาในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว (heart failure) รับประทานโคเอนไซม์ คิวเท็น พบว่า ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต อาจได้ประโยชน์ในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว

            *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัย 26 การศึกษาในผู้ที่มีโรคเบาหวาน โรคหัวใจ เมแทบอลิกซินโดรม หรือไขมันในเลือดสูง จำนวน 1,831 คน ได้รับโคเอนไซม์ คิวเท็น ขนาด 100-200 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 1-6 เดือน พบว่า ช่วยลดความดันค่าบน (SBP) ได้เล็กน้อย (ประมาณ 5 mmHg)

          *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัย 40 การศึกษาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 2,424 คน ได้รับโคเอนไซม์ คิวเท็น ขนาด 100-200 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ประมาณ 5 มก./เดซิลิตร และลดค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (A1C) 0.12%

          *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • American Academy of Neurology and the American Headache Society แนะนำว่า โคเอนไซม์ คิวเท็น ขนาด 300 มก./วัน ช่วยป้องกันไมเกรนได้
  • งานวิจัยในผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหลังเป็นโควิด-19 มากกว่า 3 เดือน จำนวน 121 คน ได้รับโคเอนไซม์ คิวเท็น ขนาด 500 มก./วัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าให้ผลบรรเทาอาการหลังเป็นโควิด-19 ได้ไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่ได้ใช้ และไม่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

          *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 8 การศึกษาในผู้ป่วยพาร์กินสัน จำนวน 899 คน พบว่า กลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับโคเอนไซม์ คิวเท็น ให้ผลบรรเทาอาการไม่แตกต่างกัน

           *ปานกลางถึงสูง, ไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai