นัตโตะไคเนส (Nattokinase)

ชื่อสมุนไพร

นัตโตะไคเนส (Nattokinase)

ชื่อวิทยาศาสตร์

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • นัตโตะไคเนส คือ เอนไซม์สกัดจากถั่วหมักด้วยเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis
  • มีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด (proteolytic fibrinolytic enzyme)
  • ดูดซึมได้ประมาณร้อยละ 1
  • งานวิจัย 7 การศึกษา 5 การศึกษาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง, 1 การศึกษาในผู้ป่วย sub-acute ischemic stroke และ 1 การศึกษาเป็นคนสุขภาพดี จำนวน 546 คน ได้รับนัตโตะไคเนส ขนาด 1,200-8,000 FU ต่อวัน เป็นเวลา 2-6 เดือน พบว่า ลดความดันได้เล็กน้อย แต่ไม่มีผลลดไขมันและน้ำตาลในเลือด

          *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐานสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ไม่แนะนำให้ใช้สำหรับลดไขมันในเลือดหรือลดน้ำตาลในเลือด

  • งานวิจัย 2 การศึกษาใน 1) ผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นความดันและอ้วน จำนวน 79 คน และ 2) ผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นความดันและความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 จำนวน 86 คน  รับประทานนัตโตะไคเนส ขนาด 100 มก. (2,000 fibrinolytic units; FU) ต่อวัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้ พบว่า กลุ่มที่ได้รับนัตโตะไคเนสมีความดันลดลงเล็กน้อย

          *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับดูแลสุขภาพ

  • งานวิจัยเชิงสังเกตในผู้ป่วยที่เป็น ischemic stroke หรือ TIA จำนวน 255 คน ได้รับนัตโตะไคเนส ขนาด 100 มก.ต่อวัน (3,000 FU) และ hydroxytyrosol ขนาด 6 มก.ต่อวัน และกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการวิจัยในช่วง 6 เดือนหลังของการวิจัยได้รับนัตโตะไคเนส ขนาด 4,000 FU ต่อวัน ร่วมกับการรักษามาตรฐาน เทียบกับกลุ่มที่ได้รับยา aspirin หรือ clopidogrel ติดตามผู้ป่วยเป็นเวลา 12 เดือน พบว่า เมื่อใช้เป็นเวลา 1 ปี ช่วยลดความดันได้เล็กน้อย แต่ไม่มีผลลดไขมัน ทั้งสองกลุ่มเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่แตกต่างกัน

          *น้อยถึงปานกลาง, ยังไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วย ischemic stroke หรือ TIA

  • งานวิจัยในผู้ป่วยหญิงที่เป็นเบาหวานและอ้วน จำนวน 17 คน รับประทานนัตโตะไคเนส ขนาด 2,000 FU ต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ทั้งกลุ่มที่ได้รับนัตโตะไคเนสและไม่ได้รับลดน้ำหนักได้ไม่แตกต่างกัน

          *ต่ำ, ยังไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยทางคลินิกยืนยันผลว่ารักษาโรคมะเร็งหรืออัลไซเมอร์ได้

          *ต่ำ, ยังไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยทางคลินิกยืนยันผลว่ารักษาหรือป้องกันโรคโควิด-19 ได้ แม้ว่าจะมีงานวิจัยพบว่ายับยั้งการแบ่งตัวของ SARS-CoV-2 ได้

          *ต่ำ, ยังไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai