แมกนีเซียม

ชื่อสมุนไพร

แมกนีเซียม

ชื่อวิทยาศาสตร์

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • เป็นแร่ธาตุ
  • ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน ผู้ใหญ่ ผู้ชายควรได้รับ 300-320 มก.ต่อวัน ผู้หญิง 250-260 มก.ต่อวัน
  • อาหารที่มีแมกนีเซียมสูง ได้แก่ ผักใบเขียว ผลไม้ ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง หรือนม
  • สำหรับเสริมในผู้ที่ขาดแมกนีเซียม ขนาด 54 มก. (elemental magnesium = Mg 4.44 mEq) วันละ 3 ครั้ง
  • งานวิจัย 3 การศึกษาในผู้สูงอายุ เมื่อรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของแมกนีเซียมและรับประทานแมกนีเซียมเสริม พบว่าอาจเพิ่มมวลกระดูกที่สะโพก เมื่อรับประทานร่วมกับแคลเซียมและวิตามินดี

          *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • American Headache Society แนะนำรับประทานแมกนีเซียม ขนาด 400-500 มก.ต่อวัน สำหรับป้องกันไมเกรน (คุณภาพหลักฐาน B, น้ำหนักคำแนะนำ II)
  • งานวิจัย 32 การศึกษาในผู้ที่มีภาวะอ้วน ได้รับแมกนีเซียม ขนาด 48-450 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 6-24 สัปดาห์ ร่วมกับการจำกัดอาหารและการออกกำลังกาย พบว่าลดดัชนีมวลกายได้ 0.21 kg/m2 แต่ไม่ลดน้ำหนักตัวและรอบเอว

          *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัย 34 การศึกษาในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตปกติ จำนวน 2,028 คน ได้รับแมกนีซียมขนาด 368 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าลดความความดันโลหิตได้เล็กน้อย (2 mmHg) และพบว่าการได้รับแมกนีเซียมขนาด 300 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 1 เดือน เพียงพอต่อการช่วยลดความดันโลหิต

          *ปานกลางถึงสูง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัย 11 การศึกษาในผู้ที่เป็นตะคริว รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 735 คน พบว่า ผู้สูงอายุที่ขาเป็นตะคริวตอนกลางคืนได้รับหรือไม่ได้รับแมกนีเซียมเสริมให้ผลไม่แตกต่างกัน หญิงตั้งครรภ์พบว่ามีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล จึงยังไม่แนะนำให้ใช้

          *ต่ำถึงปานกลาง, ยังไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai