นมผึ้ง (royal jelly)

ชื่อสมุนไพร

นมผึ้ง (royal jelly)

ชื่อวิทยาศาสตร์

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • มีส่วนประกอบของน้ำ (60-70%), โปรตีน (9-18%), น้ำตาล (7.5-15%), ไขมัน (7-18%) วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ
  • งานวิจัยในหญิงวัยหมดประจำเดือน จำนวน 200 คน รับประทานนมผึ้ง ขนาด 1,000 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 2 เดือน พบว่า อาจช่วยบรรเทาอาการหมดประจำเดือนได้

            *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัย 6 การศึกษาในผู้ที่มีโรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือคนสุขภาพดี ขนาด 237 คน รับประทานนมผึ้ง ขนาด 0.15-10 กรัมต่อวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน พบว่า ลดคอเลสเตอรอลได้ ประมาณ 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ไม่ลดไตรกลีเซอไรด์ ไขมันไม่ดี (LDL) และไม่เพิ่มไขมันดี (HDL)

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 6 การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 270 คน รับประทานนมผึ้ง ขนาด 1-3 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 2 เดือน พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำตาลสะสม (HbA1c)

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 10 การศึกษาในคนสุขภาพดีและผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 517 คน พบว่านมผึ้งมีผลต่อการทำงานของตับและระดับน้ำตาลในเลือดไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่ได้ใช้

          *ต่ำ, ยังไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน จำนวน 200 คน รับประทานนมผึ้ง ขนาด 1 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 2 เดือนพบว่าไม่มีผลลดกลุ่มอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ของหญิงวัยหมดประจำเดือน (genitourinary syndrome of menopause)

          *สูง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในเด็กอายุ 5-16 ปี ที่มีโรคประจำตัวไข้ละอองฟาง จำนวน 64 คน รับประทานเป็นเวลา 3-6 เดือน พบว่า ไม่ลดความรุนแรงของอาการหรือทำให้อาการหายเร็วขึ้น

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ผู้ใหญ่ที่เป็นไข้ละอองฟางยังไม่มีงานวิจัยในผู้ป่วยกลุ่มนี้
  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนที่เป็นโรคภูมิแพ้จากสาเหตุอื่น
  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่าช่วยบรรเทาอาการไมเกรนหรือช่วยให้นอนหลับได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai