ขมิ้นอ้อย

ชื่อสมุนไพร

ขมิ้นอ้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์

Curcuma zedoaria

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • เหง้ามีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต (44.6 กรัม/100 กรัม), โปรตีน (4.1 กรัม/100 กรัม), น้ำตาล (4.6 กรัม/100 กรัม),  แคลเซียม ฟอสเฟต และใยอาหาร ก่อนรับประทานควรแช่น้ำหลายชั่วโมงและล้างน้ำหลาย ๆ ครั้ง เพื่อชะล้างการบูรและรสขมออก
  • น้ำมันขมิ้นอ้อยมีส่วนประกอบของการบูร, พิมเสน, pinene, cineole และ sesquiterpenes
  • เป็นส่วนประกอบของตำรับยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ดังนี้ ยามหาจักรใหญ่ สำหรับบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ, ยาเหลืองปิดสมุทร สำหรับบรรเทาอาการท้องเสีย, ยาประสะไพล สำหรับบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน, ยาประสะมะแว้ง สำหรับบรรเทาอาการไอ มีเสมหะ, ยาแก้ลมอัมพฤกษ์ สำหรับบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อหรือชา
  • งานวิจัยในผู้ชายที่มีไขมันในเลือดสูง จำนวน 30 คน ดื่มชาระหว่างอาหาร ขนาด 500 มก., 1 และ 1.5 กรัม วันละ 2 ครั้ง  เป็นเวลา 2 เดือน พบว่า ลดไขมันในเลือดได้, น้ำหนักตัวและดัชนีมวลกาย (BMI) ลดลงเล็กน้อย

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai