ชาเขียว

ชื่อสมุนไพร

ชาเขียว

ชื่อวิทยาศาสตร์

Camellia sinensis

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • งานวิจัย 24 การศึกษา ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงและ/หรือน้ำหนักตัวเกิน จำนวน 1,697 คน พบว่า ชาเขียวลดความดันโลหิตได้ประมาณ 1 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งลดได้น้อยมาก

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน  ห้ามใช้แทนยาลดความดันโลหิต

  • สารสกัดชาเขียวสำหรับลดน้ำหนักตัว จากงานวิจัย 6 การศึกษาในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินที่ยังไม่เป็นโรคเบาหวาน พบว่า กลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับชาเขียวให้ผลลดน้ำหนักตัวไม่แตกต่างกัน

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ชาเขียวสำหรับป้องกันโรคมะเร็ง จากงานวิจัย 11 การศึกษา พบว่า ยังไม่สามารถสรุปได้ เพราะมีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ชาเขียวสำหรับลดระดับไขมันในเลือด จากงานวิจัย  31 การศึกษา ในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน จำนวน 3,321 คน เมื่อดื่มสารสกัดชาเขียวหรือสารสกัดชาเขียวรูปแบบแคปซูล ขนาด 170-1,200 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ถึง 1 ปี พบว่า ลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันไม่ดี (LDL) ได้ประมาณ 4-5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ไม่มีผลเพิ่มไขมันดี (HDL)

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันว่าสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้

           *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • จากงานวิจัย 6 การศึกษา ในผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน (pre-diabetes) หรือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า ผู้ที่ใช้หรือไม่ใช้ชาเขียวหรือสารสกัดชาเขียว ให้ผลลดระดับน้ำตาลในเลือดไม่แตกต่างกัน

           *สูง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในผู้ที่มีไขมันพอกตับที่น่าเชื่อถือยืนยันผลว่าช่วยรักษาโรคไขมันพอกตับได้

           *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ชาเขียวสำหรับป้องกันไข้หวัดใหญ่ มีงานวิจัยในเด็กนักเรียนและผู้ใหญ่ ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างไม่มาก จำนวน 5 การศึกษา พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในบุคลากรทางการแพทย์ที่ญี่ปุ่น จำนวน 2640 คน พบว่าคนที่ดื่มชาเขียวหรือไม่ดื่มมีโอกาสติดโควิดพอ ๆ กัน

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้ป้องกันโควิด

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai