กะเพรา

ชื่อสมุนไพร

กะเพรา

ชื่อวิทยาศาสตร์

Ocimum tenuiflorum L.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • กะเพรา 100 กรัม ประกอบด้วย โปรตีน 4.2 กรัม, ไขมัน 0.5 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 0.5 กรัม, แคลเซียม 25 มก., ฟอสฟอรัส 287 มก. ธาตุเหล็ก 15 มก.ม วิตามินซี 25 มก.
  • ใบและยอดสดชงน้ำบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

            *ข้อมูลจากการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • กะเพราแดงเป็นส่วนประกอบในตำรับยาประสะกะเพรา สำหรับบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด
  • ใบกะเพราเป็นส่วนประกอบใน
    • ตำรับยามหากะเพรา สำหรับบรรเทาอาการท้องเสีย ปวดท้อง
    • ตำรับยาประสะมะแว้ง สำหรับบรรเทาอาการไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ช่วยขับเสมหะ
    • ตำรับยาแก้ดากออกในเด็ก
    • ตำรับยาแก้ปวดท้องผสมคนทีสอ สำหรับบรรเทาอาการปวดท้อง แก้ท้องเสียเรื้อรัง
    • ตำรับยาแก้ไอผสมตรีผลา สำหรับแก้ระคายคอ แก้ไอ แก้อาเจียน แก้สะอึก
    • ตำรับยาเลือดงาม บรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
    • ตำรับยาแสงหมึก สำหรับแก้ตัวร้อน แก้ท้องขึ้น ปวดท้อง แก้ไอ ขับเสมหะ แก้แผลในปาก แก้ละออง

           *ข้อมูลจากตำรายาแผนไทย, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น 

  • มีงานวิจัยในผู้ป่วยเบาหวาน จำนวนน้อย รับประทานสารสกัดใบกะเพรา 300 มก.ต่อวัน หรือผลใบกะเพรา 2 กรัมต่อวัน ใช้ร่วมกับยาลดน้ำตาลในเลือด เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า อาจลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่าช่วยป้องกันโรคโควิดได้

           *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai