ต้นสน

ชื่อสมุนไพร

ต้นสน

ชื่อวิทยาศาสตร์

Pinus pinaster ssp. atlantica

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • งานวิจัยในผู้ชายที่เป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศน้อยถึงปานกลาง จำนวน 124 คน รับประทานสารสกัดเปลือกต้นสนที่มีส่วนประกอบของ Pycnogenol ขนาด 20 มก.และ L-arginine aspartate ขนาด 700 มก. วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน พบว่า อาจช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้

            *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

  • การลดความดันโลหิตสูง มีงานวิจัย 12 การศึกษาในคนสุขภาพดีทั้งผู้สูงอายุและคนวัยทำงาน ผู้ป่วยเบาหวาน โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง จำนวน 922 คน รับประทานสารสกัดเปลือกต้นสนที่มีส่วนประกอบของ Pycnogenol พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการลดความดันโลหิต

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • การลดไขมันในเลือด มีงานวิจัย 14 การศึกษาในคน จำนวน 1,065 คน พบว่า สารสกัดเปลือกต้นสนที่มีส่วนประกอบของ Pycnogenol ขนาด 60-360 มก.ต่อวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ช่วยเพิ่มระดับไขมันดี (HDL) แต่ไม่ลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันไม่ดี (LDL)

            *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • ยังไม่มีงานวิจัยในผู้ป่วยเบาหวานที่น่าเชื่อถือยืนยันผลว่าช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำตาลสะสม (HbA1c) ได้

            *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • การบรรเทาอาการปวดเข่า มีงานวิจัย 5 การศึกษาในผู้ที่มีโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวนน้อย พบว่า มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการบรรเทาอาการปวดข้อเข่า

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • การบรรเทาอาการในผู้ป่วยโรคหืด มีงานวิจัย 5 การศึกษาในผู้ป่วยโรคหืด จำนวนน้อย พบว่า เมื่อรับประทานสารสกัดเปลือกต้นสนที่มีส่วนประกอบของ Pycnogenol ร่วมกับการใช้ยารักษาโรคหืด อาจช่วยบรรเทาอาการโรคหืด แต่ผลเพิ่มสมรรถภาพปอด (FEV1) ยังไม่แน่นอน มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล

            *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai