เชอร์รี่ (cherry)

ชื่อสมุนไพร

เชอร์รี่ (cherry)

ชื่อวิทยาศาสตร์

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • เชอร์รี่หวาน คือ เชอร์รี่สายพันธุ์ Prunus avium ประกอบด้วยน้ำตาล 13%, วิตามินซี, บี, เอ, อี, โพแทสเซียม และเมลาโทนิน
  • เชอร์รี่เปรี้ยว หรือ ทาร์ต เชอรี่ (Tart Cherry) คือ เชอร์รี่สายพันธุ์ Prunus cerasus หรือ เชอร์รี่ สายพันธุ์ Montmorency ประกอบด้วยน้ำตาล 8%
  • รับประทานเป็นอาหาร
  • งานวิจัยในผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักตัวเกิน จำนวนน้อย (37 คน) ดื่มน้ำเชอร์รี่เปรี้ยว 480 มล.ต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ลดระดับไขมันไม่ดี (LDL) และเพิ่มไขมันดี (HDL) ได้เล็กน้อย แต่เพิ่มคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ไม่มีผลลดความดันโลหิตและน้ำหนักตัว

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ชายที่ไม่สูบบุหรี่และเริ่มมีความดันโลหิตสูง มีอายุเฉลี่ย 31 ปี จำนวน 15 คน ดื่มน้ำเชอร์รี่เข้มข้นวันละ 60 มล. ละลายน้ำ 100 มล. พบว่า ลดความดันโลหิตค่าบน (SBP) ได้เล็กน้อยหลังดื่ม ภายใน 3 ชม. หลังจากนั้นไม่มีผลลดความดันโลหิต รวมทั้งลดความดันโลหิตค่าล่าง (DBP) ไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่ได้ใช้

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปี ที่มีปัญหานอนไม่หลับเรื้อรัง จำนวนน้อย (11 คน) ดื่มน้ำเชอร์รี่เปรี้ยว ครั้งละ 240 มล. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่า ช่วยเพิ่มเวลานอน

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโรคข้อเข่าอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลาง จำนวน 58 คน ดื่มน้ำเชอร์รี่เปรี้ยว ครั้งละ 240 มล. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า ผู้ที่ดื่มและไม่ดื่มน้ำเชอร์รี่ให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกัน

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันว่าการรับประทานเชอร์รี่หรือสารสกัดเชอร์รี่ทำให้ผิวขาวขึ้นหรือป้องกันโรคมะเร็งได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai